Page 104 - b29420_Fulltext
P. 104
ซึ่งภายในวงเสวนาที่ไม่เป็นทางการนี้เองที่มีส่วนช่วยอย่างยิ่งในการทำข้อตกลงร่วมกันระหว่างผู้สมัครที่ลงแข่งขัน
และ ‘กองเชียร์’ ซึ่งอาจเป็นผู้มีอิทธิพลในชุมชนให้เห็นพ้องต้องกันกับแนวทางการเลือกตั้งสมานฉันท์ได้
นอกเหนือจากข้อจำกัดเรื่องการเป็นคนในหรือนอกชุมชนเป้าหมาย ที่เกิดขึ้นกับแกนนำระดับโครงการผู้
ผลักดันการก่อเกิดโครงการและขับเคลื่อนโครงการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงให้ประสบ
ความสำเร็จข้างต้น เงื่อนไขด้านกระบวนการส่งเสริมการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงยังเกิดขึ้น
สืบเนื่องจากการขาดการมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชน ผู้สมัคร และผู้มีสิทธิเลือกตั้ง อย่างแท้จริง ผลการศึกษาชี้ให้เห็น
ว่ากระบวนการส่งเสริมการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงไม่ว่าจะเป็นการจัดเวทีเสวนาหรือการรณรงค์
ต่อเนื่องนั้น ส่วนใหญ่ขับเคลื่อนดำเนินการโดยแกนนำระดับโครงการเป็นหลัก ยังไม่พบว่าผู้นำชุมชน ผู้สมัครและผู้
มีสิทธิเลือกตั้งได้เข้ามามีส่วนร่วมขับเคลื่อนกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงมาก
นัก ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าผู้เกี่ยวข้องเหล่านี้โดยมากมีบทบาทเป็นเพียงผู้เข้าร่วมกิจกรรม ไม่ใช่ผู้ที่ริเริ่มหรือ
ผลักดันขับเคลื่อนให้เกิดกิจกรรมตั้งแต่ต้น ทั้งหมดนี้ส่วนหนึ่งเป็นเพราะความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องเพียงพอเกี่ยวกับ
การเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียง อันสืบเนื่องจากการถ่ายทอดองค์ความรู้ที่ยังไม่ครอบคลุมของ
แกนนำจึงทำให้ยังไม่เกิดความตระหนักในความสำคัญของโครงการและบทบาทศักยภาพของผู้มีสิทธิเลือกตั้งใน
การสร้างการเมืองที่ดี
อีกส่วนปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็นเพราะช่องทางการมีส่วนร่วมในการส่งเสริมการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อ
สิทธิขายเสียงยังเป็นไปอย่างจำกัด โดยทั่วไปแล้วไม่ได้มีรูปแบบการรณรงค์ที่แตกต่างกันระหว่างการดำเนิน
โครงการโดยแกนนำที่อยู่ในพื้นที่หรือนอกพื้นที่ โดยรูปแบบการรณรงค์ที่พบมักเป็นการประชาสัมพันธ์ผ่านเสียง
ตามสาย การเดินรณรงค์รอบหมู่บ้านซึ่งอาจเป็นรถแห่ การเดิน หรือการปั่นจักรยาน อีกส่วนสำคัญคือความ
ต่อเนื่อง (continuity) ในการรณรงค์ประชาสัมพันธ์โครงการ จากบทสัมภาษณ์เราพบว่าแกนนำพลเมืองซึ่งเป็นคน
ในพื้นที่จะมีช่องทางในการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์โครงการได้มากกว่าทั้งในเวทีที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ
และมีความเป็นธรรมชาติมากกว่า มีความยืดหยุ่นในการตีความวิชาการให้สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ ส่งผลให้
สามารถเลือกใช้เทคนิควิธีการพูด (ทั้งขู่ ทั้งแนะ ทั้งปลอบ) ให้แก่คนในชุมชนได้ตรงใจมากกว่า ซึ่งจุดนี้มี
ความสำคัญอย่างยิ่งต่อการเปิดใจรับฟังข้อเสนอดังกล่าวของคนในชุมชน ผลการศึกษาพบว่าแกนนำที่นำโครงการนี้
ลงไปดำเนินการในพื้นที่สามารถสร้างโอกาสในการพูดคุยในวงสนทนาที่ไม่เป็นทางการได้เสมอส่งผลกับความ
ต่อเนื่องในการสร้างกระแสของโครงการซึ่งมีส่วนสัมพันธ์กับระดับความสำเร็จของการดำเนินโครงการในพื้นที่
ระดับมากและปานกลาง จึงกล่าวได้ว่าการมีกิจกรรมส่งเสริมการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงเป็นสิ่ง
สำคัญและควรมีการรณรงค์เพื่อสร้างสำนึกให้เห็นถึงความสำคัญของการดำเนินโครงการดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง
ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นการดีกว่าที่จะมีการสร้างช่องทางการมีส่วนร่วมในการส่งเสริมการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อ
91