Page 109 - b29420_Fulltext
P. 109
เมื่อเป็นเช่นนี้จึงไม่เกิดแกนนำในระดับชุมชน/พื้นที่อย่างแท้จริง ทำให้แกนนำระดับโครงการต้องเหนื่อยในการ
ขับเคลื่อน ส่งผลต่อประสิทธิภาพการขับเคลื่อนและความต่อเนื่องของโครงการ
ด้านผู้สมัครรับเลือกตั้งก็เช่นเดียวกัน ผลการศึกษาพบว่าผู้สมัครรับเลือกตั้งยังมีบทบาทจำกัดในการ
ส่งเสริมการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียง ทั้งนี้เพราะภายใต้จุดเน้นที่ไม่ถูกต้องเรื่องการ ‘ไม่แข่งขัน’
จึงส่งผลให้ เมื่อผู้สมัครตกลงกันได้และยอมเปิดทางให้แก่ผู้สมัครบางรายได้ขึ้นมาเป็นผู้แทนก่อนได้โดยไม่มีความ
ขัดแย้ง ก็เท่ากับว่ากระบวนการส่งเสริมการเลือกตั้งสมานฉันท์สิ้นสุดลง ไม่จำเป็นต้องมีการรณรงค์ใดๆตามมา ซึ่ง
ผิดไปจากเป้าหมายของการส่งเสริมการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงในการที่ต้องการสนับสนุนให้เกิด
การหาเสียงอย่างสร้างสรรค์และเสริมอำนาจให้แก่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งในกระบวนการเลือกตั้งให้มากขึ้น ในทางกลับกัน
หากผู้สมัครไม่สามารถตกลงกันได้และนำไปสู่การรณรงค์เลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียง กระนั้น
กระบวนการดังกล่าวก็ขับเคลื่อนโดยแกนนำเป็นหลัก ผู้สมัครรับเลือกตั้งยังมีบทบาทเป็นเพียงแขกรับเชิญในเวที
เท่านั้น ขณะที่ผู้สมัครบางรายอาจเกิดความไม่เข้าใจถึงขั้นไม่พอใจกับจุดเน้นเรื่องการไม่แข่งขัน โดยมองว่า
กระบวนการไม่เป็นประชาธิปไตย ซึ่งอาจนำมาสู่ความขัดแย้งไม่พอใจระหว่างผู้สมัครและกองเชียร์ในชุมชนได้
ด้วยเหตุนี้ กระบวนการต่างๆภายใต้โครงการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงจึงยังไม่สามารถสร้างสำนึก
เกี่ยวกับการเลือกตั้งที่ถูกต้องให้แก่ผู้สมัครรับเลือกตั้งได้
สุดท้ายเป็นบทบาทของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ซึ่งพบว่ามีลักษณะไม่ต่างจากผู้สมัครรับเลือกตั้งกล่าวคือเข้าใจว่า
การเลือกตั้งสมานฉันท์นั้นคือการเลือกตั้งที่หากไม่มีการแข่งขันเท่ากับ ‘จบ’ เมื่อเป็นเช่นนี้บทบาทหลักของ
กระบวนการดังกล่าวจึงอยู่ที่ผู้สมัครไม่ใช่ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง พวกเขาจึงเข้าใจว่าบทบาทของตนเองเป็นเพียงผู้เข้าร่วม
กระบวนการต่างๆในเวทีเสวนาที่แกนนำเป็นผู้จัดขึ้น เมื่อประกอบกับการที่ไม่มีช่องทางต่างๆในการแสดงความ
คิดเห็นหรือเข้าไปมีส่วนร่วมกำหนดและกำกับกติกาในการเลือกตั่งสมานฉันท์มากพอ จึงส่งผลให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งยัง
ไม่ได้รับการกระตุ้นสำนึกการมีส่วนร่วมในกระบวนการเลือกตั้งตามที่โครงการคาดหวังไว้เท่าที่ควร
งานวิจัยชิ้นนี้มองว่าเพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของการส่งเสริมการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิ
ขายเสียงจำเป็นต้องมีการปรับปรุงกระบวนการถ่ายทอดองค์ความรู้ของแกนนำ เน้นเนื้อหาองค์ความรู้อย่างถูกต้อง
รอบด้าน ปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมและความเชื่อต่อการเลือกตั้งที่ไม่เป็นประชาธิปไตยและมุ่งเน้นให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
และผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายเล็งเห็นผลประโยชน์ของชุมชนส่วนรวมภายหลังการเลือกตั้งให้มากขึ้น ดังนั้น งานวิจัยชิ้นนี้
จึงเสนอตัวแบบเพื่อส่งเสริมการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงที่ชื่อว่า ‘ตัวแบบ 5 สร้างสู่การเลือกตั้ง
สมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียง’ โดยมีรายละเอียดดังนี้
95