Page 114 - b29420_Fulltext
P. 114
ละเล็กทีละน้อย ไม่ควรเปิดประเด็นใหญ่ โดยเริ่มนำเอา ‘รากฐานประชาธิปไตย 5 ประการ’ มาเชื่อมโยงวิเคราะห์
โดยเปรียบเทียบกับผลงานทำงานที่ผ่านมาของผู้แทนปัจจุบันเพื่อวางรากฐานไปสู่ผู้แทนที่พึงปรารถนาในอนาคตที่
ละน้อยอย่างเป็นธรรมชาติ โดยอาจพูดคุยและชี้ชวนประเด็นดังกล่าวในวงสนทนาที่ไม่เป็นทางการต่างๆไปพร้อม
กัน เช่น ในวงสนทนาของกลุ่มแม่บ้าน
โรงเรียนพลเมืองเป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่หากชุมชนใดมีความประสงค์ต้องการจัดให้มี ‘โรงเรียนพลเมือง’
เกิดขึ้นในพื้นที่ อาจประสานไปยังศูนย์พัฒนาการเมืองภาคพลเมืองของสถาบันพระปกเกล้าประจำจังหวัดของตน
หรือประสานมายังสถาบันพระปกเกล้าโดยตรงเพื่อขอรับคำแนะนำการจัดหลักสูตรต่างๆในโรงเรียนพลเมือง โดย
พื้นที่ใดที่มีโรงเรียนพลเมือง อาจนำโรงเรียนพลเมืองมาเป็นอีกพื้นที่หนึ่งในการเสริมสร้างความเข้าใจการเลือกตั้ง
สมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงไปพร้อมกันได้ โดยอาจเชิญวิทยากรจากสถาบันพระปกเกล้า หรือ
สถาบันการศึกษาเข้าให้ความรู้ในชั่วโมงเรียนหรือนอกชั่วโมงเรียนเป็นวิชาเสริมก็ได้เช่นกัน
กระบวนการเปิดพื้นที่ จะช่วยให้วาระเรื่องการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงเป็นสิ่งที่ได้รับ
การพูดคุยกันจนเป็นปกติ กระทั่งกลายเป็นกระแส และกลายเป็นทางเลือกในการเลือกตั้งในท้ายที่สุด กล่าวคือ
เมื่อถึงฤดูกาลเลือกตั้งทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นผู้นำชุมชน ผู้สมัคร ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง จะมีมุมมองต่อการ
เลือกตั้งที่เป็นมากกว่าการแข่งขันแต่เป็นการกำหนดทิศทางการพัฒนาร่วมกันโดยการพูดคุยเปิดใจรับฟังและ
แสวงหาหนทางการพัฒนาชุมชนโดยสันติระหว่างผู้สมัครและผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
2) การจัดกิจกรรมเฉพาะอย่างต่อเนื่อง
จากผลการศึกษาชี้ให้เห็นแล้วว่าการส่งเสริมการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงไม่สามารถ
ส่งเสริมผ่านกิจกรรมรณรงค์ไปใช้สิทธิเลือกตั้งแบบธรรมดาได้ แต่ต้องเป็นการรณรงค์ให้ไปเลือกตั้งที่ไม่มีการซื้อ
สิทธิขายเสียงและเป็นไปอย่างสมานฉันท์โดยเฉพาะ ดังนั้น แม้จะมีการเปิดพื้นที่เพื่อก่อรูปสำนึกในศักยภาพของ
ตนเองในการสร้างทางเลือกแล้ว การสร้างสำนึกจำเป็นต้องมีการลงมือปฏิบัติด้วย ซึ่งในที่นี้ก็คือการลงมือปฏิบัติ
ผ่านกิจกรรมต่างๆ ที่ส่งเสริมการเลือกตั้งอย่างสร้างสรรค์ ลดการทุจริตทุกประเภท และไม่ส่งเสริมต่อการร้องขอ
หรือจ่ายแจกทรัพย์สินเพื่อแลกกับคะแนนเสียง ยกตัวอย่างเช่น การประชาสัมพันธ์องค์ความรู้เรื่องการเลือกตั้ง
สมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียง ผ่านเสียงตามสายอย่างต่อเนื่องเป็นระยะ โดยเป็นการประชาสัมพันธ์ที่มากไป
กว่าการบอกกล่าวแก่คนในชุมชนว่าขณะนี้มีการดำเนินโครงการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงใน
ชุมชนเท่านั้นแต่เป็นการถ่ายทอดองค์ความรู้ โดยที่แกนนำสามารถรับการสนับสนุนองค์ความรู้เรื่องการเลือกตั้ง
สมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงจากสถาบันพระปกเกล้าได้ หรือโดยการจัดกิจกรรมระดมความเห็นเพื่อการ
พัฒนาชุมชนต่างๆโดยเชื่อมไปสู่เรื่องของการเตรียมความพร้อมสู่การ “เปลี่ยนชุมชน” เป็นต้น เพื่อสร้างให้การ
100