Page 111 - b29420_Fulltext
P. 111
ความชอบส่วนตัว เพื่อสร้างการเมืองที่ดีอันจะตอบสนองต่อความต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ต่อไป
2) ความเป็นพลเมืองกับการมีส่วนร่วมทางการเมือง : สาระสำคัญที่มุ่งนำเสนอในส่วนนี้คือ
คุณลักษณะที่สำคัญของพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย 5 รากฐานประชาธิปไตย ซื่อสัตย์ มีเหตุผล
มีวินัย มีความรับผิดชอบและมีจิตสาธารณะ การมีส่วนร่วมทางการเมืองของพลเมืองในระบอบ
ประชาธิปไตยที่มากไปกว่าการเลือกตั้ง อาทิ การมีส่วนร่วมจัดการแก้ไขปัญหาและพัฒนาชุมชนโดย
การรวมกลุ่มของคนในชุมชนเอง การร่วมกับทางการเมืองเพื่อเสนอนแนะนโนบายหรือร่วมกันขับเคลื่
นอผลักดันนโยบายสาธารณะเพื่อแก้ไขปัญหา รวมไปถึงการมีส่วนร่วมในการสร้างการเมืองที่ดีตั้งแต่
“ต้นทาง” ผ่านการส่งเสริมและสร้าง “การเลือกตั้งที่มีคุณภาพ” ปลอดทุจริตเลือกตั้งทุกรูปแบบ เป็น
ต้น
3) ความหมายความสำคัญและกระบวนการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียง : สาระสำคัญ
ที่มุ่งนำเสนอในส่วนนี้คือ การเลือกตั้งที่สร้างสรรค์ บทบาทของฝ่ายต่างๆในการส่งเสริมการเลือกตั้งที่
สร้างสรรค์ รูปแบบของการทุจริตเลือกตั้งแบบต่างๆ การรับมือ รูปแบบวิธีการและช่องทางในการมี
ส่วนร่วมของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในกระบวนการเลือกตั้ง เป็นต้น
4) โทษจากการเลือกตั้งที่ไม่บริสุทธิ์ยุติธรรม : สาระสำคัญที่มุ่งนำเสนอในส่วนนี้คือ โทษของการทุจริต
เลือกตั้งทางกฎหมาย โทษของการทุจริตเลือกตั้งต่อสังคม และโทษของการทุจริตเลือกตั้งต่อคุณภาพ
ชีวิต เป็นต้น
5) วัฒนธรรมที่ส่งเสริมหรือขัดขวางต่อประชาธิปไตยและคุณภาพชีวิต : สาระสำคัญที่มุ่งนำเสนอใน
ส่วนนี้คือ กิจกรรมทบทวนวัฒนธรรมในชุมชน วัฒนธรรมใดขัดขวางหรือส่งเสริมกับหลักรากฐาน
ประชาธิปไตย 5 ประการ ปัญหาการเลือกตั้งจากความคุ้นชิน คุ้นเคย ไม่กล้าเปลี่ยน กิจกรรมจับคู่
ความต้องการและนโยบาย เป็นต้น
ในขั้นนี้แกนนำจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเชื่อมโยงความสำคัญของทฤษฎีมิติต่างๆเกี่ยวกับการเลือกตั้งการ
พัฒนาประชาธิปไตยและการพัฒนาคุณภาพชีวิต ดังนั้น จึงพึงระมัดระวังในการถ่ายทอดองค์ความรู้ ต้องไม่เลือก
นำเสนอเฉพาะชุดความรู้ใดชุดความรู้หนึ่งเท่านั้น แต่ต้องถ่ายทอดชุดความรู้ทั้งหมดที่สำคัญต่อการส่งเสริมการ
เลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงทั้งหมด โดยที่สำคัญจะต้องมีการเชื่อมโยงให้เห็นด้วยว่าชุดความรู้เรื่อง
ต่างๆสัมพันธ์และเชื่อมโยงกันเพื่อส่งเสริมต่อคุณภาพชีวิตของผู้มีสิทธิเลือกตั้งอย่างไร
สุดท้าย สรุปว่าผู้มีสิทธิเลือกตั้งคือสารตั้งต้นของประชาธิปไตยคุณภาพ ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจะต้องตระหนักว่า
ตนเองเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยและพึงใช้สิทธิอำนาจนี้ในการเลือกผู้แทนที่ดีที่สุด เพื่อวางหางเสือประชาธิปไตย
97