Page 108 - b29420_Fulltext
P. 108
แผนภาพที่ 1 เป็นสรุปความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับพื้นที่เป้าหมายในจังหวัดร้อยเอ็ดที่ดำเนินโครงการ
เลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียง ระหว่างปี 2560-2564 เปรียบเทียบกับความคาดหวังที่ต้องการให้
เกิดขึ้นภายหลังดำเนินโครงการในเรื่องความรู้ความเข้าใจ ความตระหนักและพฤติกรรมของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย
จากแผนภาพจะเห็นได้ว่า ความเปลี่ยนแปลงที่คาดว่าจะได้รับภายหลังการดำเนินโครงการในแต่ละเรื่องนั้นยังไปไม่
ถึง กล่าวคือ ในเรื่องของความรู้ความเข้าใจต่อการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียง ที่คาดหวังว่าผู้มีสิทธิ
เลือกตั้งจะเข้าใจว่าการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงเป็นเรื่องของ การหาเสียงสร้างสรรค์ การไม่สร้าง
ความเท็จ ไม่สร้างความขัดแย้ง ไม่ซื้อสิทธิขายเสียง ยึดหลักความรู้ความสามารถ ประโยชน์สุขส่วนรวมเป็นหลักใน
การเลือกตั้งและยอมรับผลแพ้ชนะภายหลังการเลือกตั้ง ทว่าผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่ากลุ่มตัวอย่างผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
กลับยังมีความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง โดยมีจำนวนมากที่ยังเข้าใจว่าการเลือกตั้งสมานฉันท์คือการไม่แข่งขัน เป็นการยก
ให้กัน เป็นการเลือกญาติพี่น้องของตน มีจำนวนน้อยที่มองว่าเป็นเรื่องของการเลือกตั้งที่ใช้ความดี และเน้นการหา
เสียงสร้างสรรค์ ไม่มีการซื้อสิทธิขายเสียง ซึ่งเรื่องนี้สัมพันธ์กับปัจจัยด้านการถ่ายทอดความรู้ที่ไม่ครบถ้วนรอบด้าน
ดังที่กล่าวไปแล้วข้างต้น
ในส่วนของความตระหนักรู้ โดยกระบวนการคาดหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ภายหลังเข้าร่วมโครงการแล้วผู้มีสิทธิ
เลือกตั้ง จะมีความตระหนักว่าคะแนนเสียงของตนสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงให้แก่พื้นที่ได้ ตระหนักว่าตนมี
ศักยภาพในการมีส่วนร่วมในกระบวนการเลือกตั้ง และตระหนักว่าตนมีทางเลือกในการเลือกตั้ง ทว่าผลการศึกษา
พบว่ากลุ่มตัวอย่างผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนมากยังไม่ตระหนักว่าตนมีทางเลือกในการเลือกตั้งมากนัก และยังมองว่า
ญาติและเงินยังมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกผู้แทนอย่างมาก มีเพียงพื้นที่ที่กลุ่มตัวอย่างมีความรู้ผ่านเกณฑ์ระดับ
มากเท่านั้น ที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจะเกิดความตระหนักในศักยภาพของตนเองในการสร้างความเปลี่ยนแปลงและ
เล็งเห็นคุณค่าในคะแนนเสียงของตนมากขึ้นและรับรู้ถึงอิทธิพลของญาติและเงินน้อยลง
ความรู้และความตระหนักถึงศักยภาพของผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่เกิดขึ้นอย่างไม่เต็มที่ข้างต้น ได้ส่งผลต่อ
พฤติกรรมของผู้เกี่ยวข้อง 3 ฝ่ายในการเลือกตั้งท้องที่ให้มีการแสดงออกในการขับเคลื่อนการเลือกตั้งสมานฉันท์
และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงอย่างจำกัดตามไปด้วย ดังนี้
ในส่วนของแกนนำและผู้นำชุมชนพบว่าแกนนำและผู้นำชุมชนส่วนใหญ่ เน้นการขับเคลื่อนโครงการ
เลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงโดยมุ่งไปที่การ ‘ไม่แข่งขัน’ เป็นหลัก ยังไม่เน้นบทบาทการมีส่วนร่วม
ของผู้สมัครและผู้มีสิทธิเลือกตั้งมากนัก ด้านผู้นำชุมชนก็ยังมีบทบาทตามแกนนำอยู่อย่างมาก ไม่ได้มีลักษณะของ
การร่วมมือกันขับเคลื่อนแต่เป็นการทำตามที่แกนนำระดับโครงการแนะนำและเข้าร่วมกิจกรรมที่แกนนำจัดขึ้น
94