Page 112 - b29420_Fulltext
P. 112
ให้เป็นไปในทิศทางที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งส่วนใหญ่ต้องการ การเลือกตั้งไม่ใช่การยึดติดหรือการแลกเปลี่ยนต่างตอบ
แทนแต่เป็นกระบวนการทางด้านเหตุผล เป็นการพิจารณาเลือกบนฐานของข้อมูลข้อเท็จจริงและผลการดำเนินงาน
ที่ผ่านมาผสานกับข้อเสนอเชิงนโยบายในอนาคต ผู้มีสิทธิเลือกตั้งคือพลังในการสร้างความเปลี่ยนแปลงและต้องไม่
ปล่อยให้การเมืองอยู่ในมือของนักการเมืองเท่านั้นเพราะการเมืองเป็นของทุกคน
สร้างที่ 2 สร้างความตระหนัก (consciousness building)
สำนึกในที่นี้ก็คือ ‘ใจ’ ที่เห็นความสำคัญของการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียง เป็น ‘ใจ’ ที่
พร้อมจะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและต้องการเข้าไปมีส่วนร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างการเมืองที่ดี ซึ่งความ
ตระหนักในที่นี้ไม่ได้เกิดขึ้นบนสุญญกาศแต่เกิดขึ้นบนฐานของความรู้ความเข้าใจการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อ
สิทธิขายเสียงอย่างแท้จริง และสิ่งที่สำคัญยิ่งกว่าคือการสร้างความตระหนักไม่อาจสร้างได้ในวันสองวันแต่ต้องใช้
ระยะเวลา และอาศัยความต่อเนื่องในการถ่ายทอดความรู้ที่เป็นสาระสำคัญอย่างครอบคลุมเป็นระยะ ซึ่งการจะทำ
เช่นนี้ได้จำเป็นต้องมีองค์ประกอบด้านผู้ถ่ายทอดที่มีความรู้ความเข้าใจการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขาย
เสียงอย่างลึกซึ้งและถ่ายทอดเป็น และกิจกรรมในการสร้างความตระหนักให้แก่ผู้เกี่ยวข้องฝ่ายต่างๆอย่างต่อเนื่อง
จากแนวคิดเรื่องการศึกษาเพื่อสร้างสำนึกพลเมือง (civic education) ชี้ให้เห็นว่าการสร้างสำนึก
(consciousness) นั้นไม่อาจเกิดขึ้นได้ลำพังจากการอบรมในห้องเรียนเท่านั้น แต่เกิดขึ้นจากการเรียนรู้ผ่านการลง
มือปฏิบัติ การสร้างสภาพแวดล้อมที่รองรับต่อความสนใจและการเรียนรู้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างสำนึกในกลุ่ม
ผู้เรียนที่เป็นวัยผู้ใหญ่จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องคำนึงถึงผลประโยชน์และความสนใจ เพราะการเรียนรู้ของวัยผู้ใหญ่
ไม่อาจใช้การอบรมบอกกล่าวได้แต่ต้องเกิดจากความสนใจและเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างลึกซึ้งต่อเนื่องกระทั่งนำไปสู่
การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในที่สุด ในแง่นี้กิจกรรมที่สอดคล้องกับชีวิตประจำวัน (Life-centered) สามารถ
ประสบพบเจอได้ในชีวิตประจำวันเพื่อนำไปสู่การเน้นย้ำและไม่เพิ่มภาระในการปฏิบัติจึงเป็นอีกหนทางหนึ่งในการ
ก่อรูปสำนึกบางประการ นอกจากนั้นการเน้นที่งานหรือการแก้ปัญหา (Task-centered) เพื่อสร้างแรงจูงใจในการ
ลงมือปฏิบัติกิจกรรมนั้นอย่างต่อเนื่องก็เป็นการสร้างเงื่อนไขที่น่าสนใจต่อการสร้างสำนึกบางประการในวัยผู้ใหญ่
เพราะหากพวกเขายอมรับ สนใจกิจกรรมเหล่านั้นและเชื่อว่าการเรียนรู้และการทำกิจกรรมนั้นๆ จะช่วยให้เขา
ทำงานได้ดีขึ้นหรือช่วยแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันของเขา การก่อรูปสำนึกบางประการก็จะเกิดขึ้นได้อย่างเป็น
ธรรมชาติ
ดังนั้น งานวิจัยชิ้นนี้จึงเสนอกระบวนการสร้างสำนึกพลเมืองที่มีความสำคัญต่อการเลือกตั้งสมานฉันท์และ
ไม่ซื้อสิทธิขายเสียง ทั้ง 3 เรื่อง (ความตระหนักในความสำคัญของคะแนนเสียงในการสร้างความเปลี่ยนแปลง
98