Page 113 - b29420_Fulltext
P. 113
ความตระหนักถึงศักยภาพในการมอบข้อเสนอแนะ และความตระหนักถึงศักยภาพในการเลือกได้อย่างอิสระเสรี)
ไว้ 2 ประการ ประกอบด้วย
1) การเปิดพื้นที่
จากผลการศึกษาพบว่าการจัดเวทีเสวนนาร่วมระหว่างผู้สมัครและผู้มีสิทธิเลือกตั้งนั้นสามารถสร้างให้ผู้มี
สิทธิเลือกตั้งตระหนักถึงความสำคัญของตนเองในฐานะเจ้าของคะแนนเสียงเล็งเห็นถึงคุณค่าคะแนนเสียงของ
ตนเอง เกิดความมั่นใจในการพูดคุยนำเสนอความต้องการแก่ผู้สมัครรับเลือกตั้งมากขึ้น ดังนั้นตัวแบบ 5 สร้างฯ นี้
จึงเลือกให้การเปิดพื้นที่เป็นวิธีการหนึ่งในการสร่างให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งก่อรูปความตระหนักในศักยภาพของตนได้
มากยิ่งขึ้น โดยการเปิดพื้นที่ในที่นี้จะแบ่งออกเป็น การเปิดพื้นที่แบบธรรมชาติหรือพื้นที่ที่ไม่เป็นทางการ (non-
official stage) และการเปิดพื้นที่แบบเป็นทางการ (official stage)
สำหรับเปิดพื้นที่แบบธรรมชาติหรือพื้นที่ที่ไม่เป็นทางการ (non-official stage) ในที่นี้คือการใช้กิจกรรม
ต่างๆในชุมชน ไม่ว่าจะเป็นงานบุญ งานบวช งานรื่นเริงต่างๆของชุมชน รวมไปถึงการประชุมหมู่บ้านที่เกิดขึ้นอยู่
เป็นประจำในการแทรกองค์ความรู้ความสำคัญของการเลือกตั้งที่มีคุณภาพ เป็นการเลือกตั้งที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งคือผู้
กำหนดวาระ คือผู้กำหนดกติกาตลอดจนร่วมกันรักษากติกาเพื่อให้ชุมชนหมู่บ้านได้ผู้แทนที่มีคุณภาพสามารถ
ตอบสนองความต้องการของคนในชุมชนได้ อย่างไรก็ตาม การพูดคุยแบบเป็นธรรมชาติจะเกิดขึ้นได้ภายใต้เงื่อนไข
อย่างน้อย 2 ประการคือ 1) ต้องมีแกนนำในชุมชนที่จะทำหน้าที่นำองค์ความรู้เกี่ยวกับการเลือกตั้งสมานฉันท์และ
ไม่ซื้อสิทธิขายเสียงไปถ่ายทอดอย่างต่อเนื่องในเวทีกิจกรรมต่างๆ 2) แกนนำต้องมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการ
เลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงอย่างแท้จริง ในแง่นี้จึงจำเป็นที่แกนนำจะต้องได้รับการพัฒนาศักยภาพ
จากหน่วยงานส่วนกลางเป็นระยะ ซึ่งอาจทำได้ในลักษณะของการจัดอบรมเพิ่มเติมความรู้ การจัดประชุมทบทวน
สถานการณ์ ตลอดจนการจัดประชุมร่วมกันเพื่อกำหนดยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อ
สิทธิขายเสียง
นอกเหนือจากเงื่อนไข 2 ประการข้างต้น ‘ความต่อเนื่อง’ และ ‘ความเชื่อมโยง’ เป็นหัวใจสำคัญของการ
เปิดพื้นที่แบบธรรมชาติให้ประสบความสำเร็จ ทั้งนี้เพราะการพูดคุยเรื่องการเมืองโดยธรรมชาติของสังคมไทยเป็น
เรื่องที่คนมักไม่พูดในที่สาธารณะ ถือว่าเป็นเรื่องหนัก เป็นเรื่องที่อาจนำไปสู่ความขัดแย้งได้ การสร้างสำนึกจะต้อง
ทำความเข้าใจเรื่องการเลือกตั้งเสียใหม่ว่าเป็นเรื่องปกติ เป็นการที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจะได้ทบทวนการทำงานของ
ผู้แทน และร่วมกันกำหนดคุณสมบัติของผู้แทนที่พึงปรารถนาตามมุมมองและความต้องการของคนในชุมชนขึ้นมา
การเมืองไม่ใช่เรื่องความขัดแย้งแต่เป็นการทบทวนเพื่อปรับปรุงการทำงาน เพื่อปรับปรุงการพัฒนชุมชนของตน
อย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ในช่วงแรกของการนำเสนอแกนนำอาจจำเป็นต้องค่อยๆถ่ายทอดเนื้อหาเรื่องราวไปที
99