Page 117 - b29420_Fulltext
P. 117

ดังนั้น การสร้างช่องทางการมีส่วนร่วมให้แก่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง การสร้างพื้นที่ยิ่งมาก

               ยิ่งช่วยให้องค์ความรู้และทักษะที่ได้รับจากการอบรมไม่ได้เป็นเพียง ‘ลมปาก’ ที่สร้างฝันล้มๆแล้งๆให้แก่ผู้เข้า

               อบรมแต่พวกเขาจะได้มีส่วนอย่างแท้จริงในการขับเคลื่อนโครงการให้ประสบความสำเร็จ โดยงานวิจัยนี้มองว่า

               ช่องทางของการมีส่วนร่วมสามารถเป็นได้มากกว่าเวทีเสวนาขนาดใหญ่ที่เป็นทางการเท่านั้น อาจเป็นลักษณะของ
               วงสนทนา การประชาสัมพันธ์ผ่านเสียงตามสายอย่างต่อเนื่องดังที่กล่าวไปข้างต้น แต่สิ่งหนึ่งที่ต้องมีพร้อมกันสร้าง

               การมีส่วนร่วมให้แก่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งได้เข้าไปมีส่วนในพื้นที่เหล่านั้นให้มากขึ้นโดยอาจดำเนินการผ่านกิจกรรมที่ทุก

               คนสามารถมีส่วนร่วมได้ อาทิ การจัดวงสนทนาเล็ก พูดคุยเรื่องการเมืองให้เป็นปกติ โดยผู้คนนำเอาประสบการณ์

               สิ่งที่พบเจอระหว่างดำเนินโครงการมาแลกเปลี่ยนเล่าสู่กันฟัง หรือการกำหนดหัวข้อให้พูดคุยคล้ายเป็นการตั้ง

               คำถามชวนคิด โดยอาจเป็นผู้นำชุมชนที่ชวนคิดประเด็นการพัฒนาชุมชน ผู้นำในฝัน หรือจะสร้างชุมชนน่ารักน่า
               อยู่อย่างไร โดยอาจนำกิจกรรมที่มีลักษณะแข่งขันเล็กน้อยเข้ามาเพื่อสร้างแรงจูงใจ จัดให้กรรมการหมู่บ้านแต่ละ

               คุ้มลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลจากครัวเรือนในความรับผิดชอบของตนและหาตัวแทนจากคุ้มของตนนำเสนอเป็นการฝึก

               การแสดงความคิดเห็นไปเป็นระยะทั้งยังเป็นการเตรียมความพร้อมกับการเลือกตั้งไปพร้อมกัน เป็นต้น


                       นอกจากนั้น การสร้างช่องทางมีส่วนร่วมในปัจจุบันยังสามารถนำเอาเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้เพื่ออำนวย

               ความสะดวกให้แก่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งได้มีบทบาทในกระบวนการเลือกตั้งในห้วงฤดูกาลเลือกตั้งได้มากยิ่งขึ้นไม่ว่าจะ

               เป็นแอพลิเคชั่นไลน์ หรือเฟสบุ๊ค ที่คนในพื้นที่เริ่มรู้จักคุ้นเคยและใช้มากขึ้น โดยอาจจัดเป็นแคมเปญต่างๆหรืออาจ
               จัดให้มีการประกวดโครงการหรือข้อแนะต่อการพัฒนาชุมชนที่โดนใจและให้มีการโหวต (vote) เลือกโครงการที่

               น่าสนใจที่สุด ซึ่งอาจกลายเป็นข้อเสนอที่ผู้ได้รับเลือกตั้งไม่อาจปฏิเสธได้เมื่อเข้ามาดำรงตำแหน่ง เป็นต้น


                       สร้างที่ 5 สร้างวัฒนธรรม (culture building)


                       ในตัวแบบ 5 สร้างสู่การเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงนี้ สร้างสุดท้ายที่จำเป็นต้องสร้างให้

               เกิดขึ้นก็คือ การสร้างให้ความรู้และปฏิบัติการที่ผ่านมาตกผลึกกลายเป็น ‘วัฒนธรรม’ การมีส่วนร่วมของภาค
               ประชาชนในกระบวนการต่างๆในชุมชน เพราะสุดท้ายแล้วการมีส่วนร่วมของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในกระบวนการ

               เลือกตั้งไม่อาจจบลงที่วันไปใช้สิทธิเลือกตั้ง เพราะภายใต้การปกครองระบอบประชาธิปไตยความรับผิดชอบไม่ได้

               เป็นของผู้แทนแต่เป็นความรับผิดชอบของทุกฝ่ายที่ต้องมีร่วมกัน ในส่วนของผู้แทนมีบทบาทหน้าที่สำคัญในการ

               รวบรวมความต้องการ แสวงหาช่องทาง ประสานความร่วมมือทุกฝ่าย และขับเคลื่อนโครงการกิจกรรมต่างๆใน

               รูปแบบนโยบายสาธารณะเพื่อพัฒนาและแก้ไขปัญหาต่างๆในชุมชน แต่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งในฐานะเจ้าของอำนาจ

               อธิปไตยไม่อาจละเลยให้ความต้องการที่ได้ตั้งเป้าหมายเอาไว้ตั้งแต่ก่อนการเลือกตั้งและก่อนมีผู้แทนหลุดลอยไป







                                                                                                          103
   112   113   114   115   116   117   118   119   120   121   122