Page 103 - b29420_Fulltext
P. 103

สาธารณะระหว่างผู้สมัครและผู้มีสิทธิเลือกตั้งและการรณรงค์ส่งเสริมการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขาย

               เสียงโดยผู้มีสิทธิเลือกตั้งและฝ่ายต่างๆที่เกี่ยวข้องในชุมชน ซึ่งทั้งสองกิจกรรมเป็นกระบวนการตามกรอบการ

               เลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงที่สถาบันพระปกเกล้าเสนอขึ้น ทว่าในทางปฏิบัติการดำเนินกิจกรรมจะ

               แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับต้นทุนของแกนนำในชุมชนที่ดำเนินโครงการ ซึ่งจำแนกได้ 2 ลักษณะ คือ

                       ลักษณะที่ 1 เน้นการเปิดเวทีสาธารณะเป็นหลัก การจัดกิจกรรมในลักษณะนี้พบว่ามักเกิดขึ้นกับแกนนำ

               ที่เป็นคนนอกพื้นที่และนำเอาโครงการนี้เข้าไปดำเนินการโดยเริ่มต้นจากการพูดคุยกับผู้นำชุมชนและหน่วยงาน

               ราชการเป็นหลัก ด้วยความที่แกนนำกลุ่มนี้ไม่ทราบรายละเอียดบริบทของชุมชนอย่างลึกซึ้งจึงทำให้ไม่สามารถ

               เข้าถึงตัวผู้สมัครได้โดยตรง มีความพยายามอยู่เช่นกันในการค้นหา แกนนำระดับพื้นที่ซึ่งเป็นคนในชุมชนที่เป็นข้อ

               ต่อ เพื่อทำความเข้าใจความสำคัญของโครงการอย่างลึกซึ้งและให้ผู้นั้นเป็นแกนนำในระดับพื้นที่เพื่อขยายผลต่อ

               ซึ่งบางพื้นที่ก็พบแต่บางพื้นที่ก็ไม่พบ พื้นที่ที่พบว่ามีแกนนำในระดับพื้นที่ที่มีความกระตือรือร้นก็จะมีความสัมพันธ์
               กับระดับความสำเร็จของโครงการในระดับมากถึงปานกลาง แต่หากไม่พบและไม่สามารถเข้าถึงแกนนำระดับพื้นที่

               ได้ความสำเร็จมักเกิดขึ้นได้น้อย


                       อย่างไรก็ตาม แกนนำที่ไม่ได้เป็นคนในพื้นที่ก็มีความพยายามอย่างมากที่จะแก้ไขปัญหาดังกล่าวโดยการ

               ใช้เวทีเสวนาสาธารณะให้เป็นประโยชน์มากที่สุด โดยการสร้างความคิดความรู้ความเข้าใจให้แก่ประชาชนผู้มีสิทธิ

               เลือกตั้งโดยตรง และมอบการบ้านให้แก่คนกลุ่มนี้ได้นำเอาแนวคิดและข้อเสนอจากเวทีไปเผยแพร่ต่อกับครอบครัว
               คนใกล้ชิดและคนรู้จักเพื่อสร้างกระแสโอบล้อมความคิดของคนในพื้นที่ทั้งหมดแทนการเข้าหากลุ่มเป้าหมายซึ่งเป็น

               ผู้สมัคร


                       ลักษณะที่ 2 ใช้การพูดคุยแบบไม่เป็นทางการคู่ขนานกันไป กรณีที่เป็นการเดินคู่ขนานกันไประหว่าง

               การเปิดเวทีสาธารณะกับการพูดคุยนอกรอบ พบว่ามักเกิดขึ้นกับแกนนำที่เป็นคนในพื้นที่ ซึ่งทำให้แกนนำกลุ่มนี้มี

               ลักษณะที่เป็นแกนนำในระดับพื้นที่ไปโดยปริยายไม่ใช่เพียงแกนนำที่ดำเนินโครงการเท่านั้น กระบวนการคู่ขนานที่
               พบว่าแกนนำกลุ่มนี้ดำเนินการคู่กันไปกับการจัดเวทีเสวนาสาธารณะก็คือ การรายงานความคืบหน้าของการ

               ดำเนินการในที่ประชุมหมู่บ้านอยู่เสมอ ซึ่งกระบวนการเช่นนี้จะช่วยให้สามารถทบทวนทิศทางการดำเนินโครงการ

               ได้อย่างใกล้ชิดและสามารถหาทางรับมือได้อย่างทันท่วงที ตลอดจนปรับท่าทีการรณรงค์ที่เหมาะสมต่อไปได้

               นอกจากนั้น ยังสามารถจัดวงเสวนาย่อยๆพูดคุยกับผู้สมัครอย่างไม่เป็นทางการซึ่งทำให้บรรยากาศการพูดคุยกัน

               นั้นมีความผ่อนคลายประกอบกับอาศัยความเป็นญาติพี่น้องคนรู้จัก คนที่ปรารถนาดีต่อชุมชนของตนเช่นเดียวกัน

               มาพูดคุยกัน รวมไปถึงอาศัยต้นทุนทางสังคมของแกนนำบางคนในกลุ่มเพื่อช่วยให้การเจรจาเป็นไปโดยราบรื่น







                                                                                                           90
   98   99   100   101   102   103   104   105   106   107   108