Page 104 - เอกสารประกอบการประชุมวิชาการ ครั้งที่ 23
P. 104

การประชุมวิชาการ   10
                                                                                   สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 23
                                                                                       ประชาธิปไตยในภูมิทัศน์ใหม่

                     คุณค่าด้านประโยชน์ใช้สอย นโยบายเพื่อประโยชน์ส่วนรวม


                       แนวคิดการบริโภคเชิงสัญญะอธิบายโดยเริ่มจากการกล่าวถึงการบริโภคพื้นฐานที่เน้น
                  ประโยชน์ใช้สอย ซึ่งหมายถึง การเลือกพรรคการเมืองจากการพิจารณานโยบายที่สร้าง
                  ประโยชน์แก่ส่วนรวม คุณค่านี้เป็นคุณค่าดั้งเดิมที่พรรคการเมืองต่างก็นำมาใช้กำหนดนโยบาย

                  ซึ่งเกิดขึ้นนับตั้งแต่พรรคการเมืองแรกของประเทศไทยได้ถูกจัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย
                  ในปี พ.ศ. 2498 ในชื่อพรรคเสรีมนังคศิลา ซึ่งพรรคการเมืองนี้ก็กำหนดนโยบายเพื่อ
                  ประโยชน์ส่วนรวม เช่น การส่งเสริมสัมพันธไมตรีกับนานาชาติ การให้ประชาชนมีเสรีภาพ

                  ในการประกอบการกสิกรรมและการพาณิชย์ และการรักษาความสงบเรียบร้อยในประเทศ
                  (ราชกิจจานุเบกษา, 2498)

                       ส่วนในปี พ.ศ. 2564 พรรคการเมืองก็นำเสนอนโยบายที่เป็นประโยชน์แก่ส่วนรวม
                  เช่นกัน เช่น พรรคภูมิใจไทยนำเสนอแนวคิดว่า ประชาชนต้องมีสิทธิเสรีภาพและมีอำนาจ

                  ในการใช้ทรัพยากรทั้งของส่วนตนและของชาติ ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด ด้วยแนวทางลด
                  อำนาจรัฐเพิ่มอำนาจประชาชน และนโยบายกัญชาเสรี (BBC News, 2019 17 January)
                  ส่วนพรรคอนาคตใหม่นำเสนอนโยบาย เช่น ยุติระบบราชการแบบรวมศูนย์ ปฏิวัติการศึกษา
                  และไทยเท่าเทียม (อนาคตใหม่, 2564)


                       การกำหนดนโยบายของพรรคการเมืองโดยมุ่งเน้นที่ประโยชน์ส่วนรวม จึงกลายเป็นเรื่อง
                  พื้นฐานที่พรรคการเมืองส่วนใหญ่ต่างก็นำเสนอ อย่างไรก็ตาม นโยบายในลักษณะดังกล่าวกลับ
                  ไม่ช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขันให้เกิดขึ้นได้ โดยสาเหตุหลักเกิดจากนโยบาย
                  ของพรรคการเมืองที่ดูแตกต่างกันนั้นเป็นเพียงความแตกต่างกันในเชิงรูปแบบ แต่ไม่ได้มี

                  ความแตกต่างกันในเชิงเนื้อหา ซึ่งหมายถึงการที่นโยบายของพรรคการเมืองส่วนใหญ่ต่างก็
                  มุ่งนำเสนอประโยชน์ที่มีต่อส่วนรวมทั้งสิ้น เมื่อเป็นเช่นนี้ นโยบายในลักษณะอื่นจึงถูกนำเสนอ
                  เพื่อให้ได้รับคะแนนเสียงเพิ่มขึ้นจากประชาชน

                     คุณค่าด้านการแลกเปลี่ยน นโยบายประชานิยม


                       คุณค่าประการถัดมาที่แนวคิดการบริโภคเชิงสัญญะกล่าวถึง คือ คุณค่าด้านการแลกเปลี่ยน
                  หรือมูลค่า ซึ่งหมายถึง นโยบายของพรรคการเมืองในเชิงมูลค่าที่ประชาชนได้รับผลประโยชน์
                  โดยตรงในเชิงเศรษฐกิจที่จับต้องได้ แนวคิดนี้เริ่มเป็นที่กล่าวถึงเริ่มตั้งแต่รัฐบาลที่นำโดย
                  พรรคไทยรักไทยนำเสนอโครงการต่าง ๆ ไปยังประชาชนกลุ่มฐานรากซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่

                  ในประเทศไทย (นันทวุฒิ พิพัฒน์เสรีธรรม, 2551) ตัวอย่างเช่น โครงการพักหนี้เกษตรกร
                  รายย่อย โครงการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง และโครงการสร้างหลักประกันถ้วนหน้า
                  รักษาทุกโรค (ภัทร หวังศิริกุล, 2560)                                                     การประชุมกลุ่มย่อยที่ 1


                       อย่างไรก็ตาม โครงการในลักษณะดังกล่าวของพรรคไทยรักไทยก็ถูกตั้งข้อครหาว่า
                  เป็นการกำหนดนโยบายโดยมองประชาชนเป็นดั่งลูกค้าของธุรกิจ และมีการนำการตลาดมาใช้
   99   100   101   102   103   104   105   106   107   108   109