Page 108 - เอกสารประกอบการประชุมวิชาการ ครั้งที่ 23
P. 108
การประชุมวิชาการ 107
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 23
ประชาธิปไตยในภูมิทัศน์ใหม่
สรุปผล
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำแนวคิดการบริโภคเชิงสัญญะอันเป็นมุมมองเชิง
สังคมวิทยามาใช้อธิบายพรรคการเมือง โดยพบว่า นโยบายของพรรคการเมืองสามารถจำแนกได้
4 มิติ คือ 1) คุณค่าด้านประโยชน์ใช้สอย ซึ่งเกี่ยวกับการกำหนดนโยบายของพรรคการเมือง
ในด้านต่าง ๆ เพื่อประโยชน์ส่วนรวม 2) คุณค่าด้านการแลกเปลี่ยน ซึ่งเกี่ยวกับการกำหนด
นโยบายที่เอื้อประโยชน์ทางเศรษฐกิจโดยตรงต่อประชาชน 3) คุณค่าเชิงสัญญะ ซึ่งเกี่ยวกับ
คุณค่าความหมายที่สะท้อนจากพรรคการเมืองไปสู่ประชาชน และ 4) การแลกเปลี่ยน
เชิงสัญลักษณ์ ซึ่งเกี่ยวกับการนำสัญลักษณ์มาใช้เพื่อสื่อสารความหมายที่เชื่อมโยงกับ
พรรคการเมือง
การที่พรรคการเมืองจะได้รับความนิยมและได้รับการเลือกตั้งได้ย่อมต้องคำนึงถึง
การนำเสนอนโยบายที่สะท้อนคุณลักษณะต่าง ๆ เพื่อสร้างความแตกต่างของพรรคการเมือง
ให้เกิดขึ้นในมุมมองของประชาชน การดำเนินการตามแนวทางดังกล่าวนี้แสดงให้เห็นถึง
การปรับตัวของพรรคการเมืองผ่านการกำหนดนโยบายซึ่งช่วยให้เกิดความได้เปรียบในการแข่งขัน
ทางการเมือง นอกจากนี้ การนำแนวคิดการบริโภคเชิงสัญญะมาใช้อธิบายพรรคการเมือง
จะช่วยให้ได้รับมุมมองใหม่ทางวิชาการนอกเหนือจากการวิเคราะห์โดยใช้แนวคิดจากทาง
รัฐศาสตร์ดังที่เคยเป็นมา
ข้อเสนอแนะ
บทความนี้นำเสนอการวิเคราะห์จากมุมมองทางสังคมวิทยา เพื่ออธิบายปรากฏการณ์
เกี่ยวกับการกำหนดนโยบายของพรรคการเมืองไทย ซึ่งสามารถนำไปใช้ประกอบการกำหนด
นโยบายเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันให้เกิดขึ้นในทางการเมืองได้ อย่างไรก็ตาม
บทความนี้นำเสนอการวิเคราะห์จากมุมมองของแนวคิดการบริโภคเชิงสัญญะเพียงแนวคิดเดียว
ซึ่งยังไม่ถือว่าเป็นการวิเคราะห์ปรากฏการณ์แบบองค์รวมอย่างเต็มรูปแบบนัก โดยเหตุผล
สำคัญเกิดจากข้อจำกัดด้านเนื้อที่ ซึ่งทำให้ไม่อาจนำเสนอเนื้อหาที่ประกอบด้วยแนวคิดที่มี
ศักยภาพในการอธิบายได้อย่างครบถ้วน
แนวคิดอื่นที่มีความน่าสนใจซึ่งสามารถอธิบายปรากฏการณ์เกี่ยวกับพรรคการเมือง และ
ปรากฏการณ์ทางการเมืองได้ดี คือ การนำแนวคิดทางการตลาดมาใช้วิเคราะห์ร่วมกับแนวคิด
ทางสังคมวิทยา ซึ่งจะช่วยเพิ่มความสามารถในการอธิบายได้ดีขึ้น ตัวอย่างเช่น การนำแนวคิด
บุคลิกภาพตราสินค้ามาใช้วิเคราะห์ว่า พรรคการเมืองไทยประกอบด้วยบุคลิกภาพใด และ
บุคลิกภาพใดส่งผลต่อประเด็นในทางการตลาดการเมืองอย่างไรบ้าง เช่น การลงคะแนนเสียง
ให้กับพรรคการเมือง ภาพลักษณ์พรรคการเมือง และเอกลักษณ์ของพรรคการเมือง นอกจากนี้ การประชุมกลุ่มย่อยที่ 1
แนวคิดอื่นเช่น เจเนอเรชั่น (generation) ก็เป็นแนวคิดหนึ่งที่สามารถอธิบายการรวมกลุ่ม
ทางการเมืองในโซเชียลมีเดียได้ดีอีกแนวคิดหนึ่ง