Page 105 - เอกสารประกอบการประชุมวิชาการ ครั้งที่ 23
P. 105

การประชุมวิชาการ
         10  สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 23
              ประชาธิปไตยในภูมิทัศน์ใหม่

               กับการเมือง เพื่อตอบสนองต่อสิ่งที่ประชาชนชื่นชอบ นอกจากนี้ การกำหนดนโยบายดังกล่าว

               ยังถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่า เป็นแนวทางที่ไม่เหมาะสมต่อการพัฒนาประเทศในระยะยาว (อเนก
               เหล่าธรรมทัศน์, 2549) และสร้างผลกระทบในอนาคตให้กับประเทศ เช่น โครงการประชานิยม
               ทำให้ GDP ของประเทศลดลงโดยเฉลี่ยปีละประมาณร้อยละ 1 และส่งผลกระทบต่อระบบ
               เศรษฐกิจมหภาคและเป็นต้นตอของวิกฤตหนี้ของประเทศ (Funke, Schularick, & Trebesch,

               2021; ภูมิวัจน์ ปุณยวุฒิปรีดา, 2563)

                     ไม่ว่าจะถูกตั้งข้อสังเกตถึงความไม่เหมาะสมอย่างไร แต่นโยบายประชานิยมก็สามารถ
               สร้างความได้เปรียบในการแข่งขันให้กับพรรคการเมืองได้ ดังจะเห็นได้จากภายหลังการเลือกตั้ง
               ในปี พ.ศ. 2548 พรรคไทยรักไทยได้รับการเลือกตั้งอย่างท้วมท้นโดยได้รับจำนวน ส.ส.

               มากถึง 376 ที่นั่ง จากจำนวนทั้งหมด 500 ที่นั่ง และทำให้ในเวลาต่อมาพรรคการเมืองอื่น
               ต่างก็นำเสนอโครงการในลักษณะประชานิยมอย่างเป็นเรื่องปกติ เช่น เมื่อครั้งพรรคเพื่อไทย
               เป็นรัฐบาลก็มีโครงการจำนำข้าว โครงการพักหนี้เกษตรกร และโครงการรถไฟฟรี (กรุงเทพ
               ธุรกิจ, 2556 28 ตุลาคม) ส่วนรัฐบาลที่นำโดยพรรคพลังประชารัฐก็มีโครงการสนับสนุน

               เงินค่าครองชีพ 9,000 บาท แก่ประชาชน โครงการเที่ยวด้วยกัน และโครงการคนละครึ่ง
               (กระทรวงการคลัง, 2564; กรุงเทพธุรกิจ, 2564 23 มีนาคม)

                     โครงการประชานิยมจึงถูกพรรคการเมืองหยิบยกมาใช้อย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างความได้เปรียบ
               ในการแข่งขัน แต่ดูเหมือนจะเป็นนโยบายที่สร้างความชอกช้ำให้แก่ประเทศ และในที่สุด

               การนำเสนอนโยบายประชานิยมก็กลายเป็นเรื่องปกติในทางการเมือง เนื่องจากหาก
               พรรคการเมืองใดไม่นำเสนอนโยบายประชานิยมก็มักจะถูกตั้งข้อครหาว่า ไม่สนใจต่อ
               ความยากจนของประชาชน (ทรงภูมิ พรหมภาพ & โกวิท วงศ์สุรวัฒน์, 2558)

                  คุณค่าเชิงสัญญะ นโยบายขายความหมาย


                     คุณค่าที่เป็นหัวใจของแนวคิดการบริโภคเชิงสัญญะ คือ คุณค่าเชิงสัญญะ ซึ่งเมื่อ
               พิจารณาในบริบทของพรรคการเมืองแล้ว คุณค่าเชิงสัญญะ คือ ความรู้สึกที่ประชาชนได้รับ
               ผ่านสัญญะจากพรรคการเมือง เพื่อแสดงว่าตนเองมีความแตกต่างจากผู้อื่นในสังคม การเลือก

               พรรคการเมืองจะขึ้นกับความรู้สึกที่ได้รับจากพรรคการเมืองในแง่ของคุณค่าความหมายที่เป็น
               นามธรรม เช่น ความเป็นประชาธิปไตย ความรักชาติ ความจงรักภักดี หรือความเป็นคนรุ่นใหม่
               (สาโรจน์ บุญเสริมวรรณ & สุชาติ ศรียารัณย, 2562; เหมือนฝัน คงสมแสวง, 2562)
               ผ่านสัญญะ เช่น การใช้สีแดงของคนเสื้อแดง และการใช้สีเหลืองของคนเสื้อเหลือง และการใช้
        การประชุมกลุ่มย่อยที่ 1   อุณโณ, 2560; Springnew, 2020 19 November)
               เป็ดเหลืองของม็อบคณะราษฎร์ (สินธุชัย ศุกรเสพย์, 2562; อภิชาต สถิตนิรามัย & อนุสรณ์



                     ด้วยเหตุนี้ประชาชนจึงมิได้พิจารณาพรรคการเมืองจากนโยบายเพื่อประโยชน์ส่วนรวม
               หรือนโยบายประชานิยมเท่านั้น แต่จะพิจารณาจากความหมายที่ได้รับจากพรรคการเมืองเพื่อ
   100   101   102   103   104   105   106   107   108   109   110