Page 13 - kpib28626
P. 13
ยุทธศาสตร์ที่ 6 ยุทธศาสตร์ด้านการปรับสมดุล และพัฒนาระบบการบริหารจัดการ
ภาครัฐ ประกอบด้วย การวางระบบบริหารงานราชการแบบบูรณาการ การยกระดับงานบริการ
ประชาชนและการอ�านวยความสะดวกของภาครัฐสู่ความเป็นเลิศ การปรับปรุงบทบาท ภารกิจ
และโครงสร้างของหน่วยงานภาครัฐ การพัฒนาระบบบริหารจัดก�าลังคนและพัฒนาบุคลากร
ภาครัฐ ในการปฏิบัติราชการและมีความเป็นมืออาชีพ การต่อต้านการทุจริตและประพฤติ
มิชอบ การปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับให้มีความชัดเจน ทันสมัย เป็นธรรม
และสอดคล้องกับข้อบังคับสากลหรือข้อตกลงระหว่างประเทศ
อย่างไรก็ตาม ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงที่ส�าคัญตั้งแต่ช่วงต้นศตวรรษที่ 21 ได้แก่
ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี: โอกาส และความท้าทายของท้องถิ่นไทย
กระแสโลกาภิวัตน์ เข้มข้นขึ้นมากเนื่องจากประเทศต่าง ๆ ด�าเนินนโยบายเศรษฐกิจการค้า
การลงทุนเสรีกันอย่างกว้างขวาง การเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์โลกดังกล่าวที่องค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นไทยได้เผชิญอยู่ อาทิ การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ภัยพิบัติ
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เทคโนโลยีสารสนเทศ ฯลฯ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นความท้าทายใหม่
ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไทยในปัจจุบัน และมีผลกระทบต่อประชาชนทั้งโดยทางตรง
และทางอ้อม ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่และความรับผิดชอบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ในการรู้เท่าทันสถานการณ์ และเตรียมการรองรับเพื่อให้ประชาชนได้รับผลกระทบเชิงลบ
ให้น้อยที่สุด ในขณะเดียวกันสามารถสร้างโอกาสแก่ท้องถิ่นและประชาชนในอนาคตอีกด้วย
บริบทการเปลี่ยนแปลงของแนวทางการพัฒนาและปฏิรูปประเทศ สะท้อนถึง
ความส�าคัญของการบริหารราชการแผ่นดินเชิงพื้นที่ที่มีเป้าหมายการพัฒนาชัดเจนและเป็น
รูปธรรม รวมทั้งเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นโยบาย
รัฐบาล กรอบยุทธศาสตร์ภาค กลุ่มจังหวัด และจังหวัด ทั้งนี้ เงื่อนไขความส�าเร็จที่ส�าคัญ
(Critical Success Factor) คือ ขีดความสามารถของอ�าเภอและจังหวัดในการประมวล
หน้า 12