Page 18 - kpib28626
P. 18
7. การเพิ่มศักยภาพฐานการผลิตและบริการเดิมที่มีศักยภาพในปัจจุบันให้
ต่อยอดไปสู่ฐานการผลิตและบริการที่ใช้เทคโนโลยีที่เข้มข้นและมีนวัต
กรรมมากขึ้น ควบคู่กับการวางรากฐานเพื่อสร้างและพัฒนาภาคการผลิต
และบริการส�าหรับอนาคต ทั้งในด้านการเตรียมศักยภาพคนและโครงสร้าง
พื้นฐาน ตลอดจนสร้างกลไกและเครือข่ายความร่วมมือของธุรกิจในลักษณะ
คลัสเตอร์ (Cluster)
8. การส่งเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจกระแสใหม่ อาทิ เศรษฐกิจ
ดิจิทัล เศรษฐกิจฐานชีวภาพ เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์และวัฒนธรรม และ
การพัฒนาวิสาหกิจตั้งใหม่ (Start Up) และวิสาหกิจเพื่อสังคม รวมถึงการสร้าง
สังคมผู้ประกอบการเพื่อต่อยอดฐานการผลิตและบริการ
9. การสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจบริการและการท่องเที่ยว
ที่มีศักยภาพให้เติบโตและสนับสนุนภาคการผลิต เน้นการปรับปรุง
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดความสมดุลและยั่งยืนในการพัฒนา
อุตสาหกรรมท่องเที่ยวที่ค�านึงถึงขีดความสามารถในการรองรับของระบบนิเวศ
และศักยภาพของพื้นที่ รวมทั้งการสร้างมูลค่าเพิ่มในอุตสาหกรรมกีฬาให้
ครอบคลุมทุกมิติและครบวงจรทั้งการผลิตและธุรกิจที่เกี่ยวข้อง ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี: โอกาส และความท้าทายของท้องถิ่นไทย
10. การสร้างความเชื่อมโยงระหว่างภาคการผลิต เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ
ขยายฐานเศรษฐกิจให้กว้างขึ้น และต่อยอดห่วงโซ่การผลิตให้เข้มแข็งขึ้น โดย
การเชื่อมโยงเครือข่ายการผลิตและน�าผลการวิจัยและการพัฒนาที่เกี่ยวข้อง
มาใช้ประโยชน์ในการสร้างผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ที่หลากหลายและสอดคล้อง
กับความต้องการของตลาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาความเชื่อมโยง
ด้านคมนาคมขนส่ง โลจิสติกส์ และโทรคมนาคม ในกรอบความร่วมมือ
อนุภูมิภาคภายใต้แผนงานของกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาค
ลุ่มแม่น้าโขง กรอบความร่วมมือลุ่มแม่น�้าอิระวดี เจ้าพระยา แม่โขง กรอบความ
ร่วมมือเขตเศรษฐกิจสามฝ่าย อินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย กรอบความร่วมมือ
ความริเริ่มแห่งอ่าวเบงกอล ส�าหรับความร่วมมือหลากหลายสาขาทางวิชาการ
และเศรษฐกิจ กรอบความร่วมมือเพื่อพัฒนาชายแดนไทย-มาเลเซีย และ
ภูมิภาคอาเซียนเพื่ออ�านวยความสะดวกและลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์
หน้า 17