Page 14 - kpib28626
P. 14

ข้อมูลความต้องการและแผนพัฒนาจากหน่วยการปกครองระดับเล็กที่สุด คือ หมู่บ้าน ต�าบล
               ชุมชน และท้องถิ่น เพื่อเชื่อมโยงกับแผนเชิงพื้นที่ในระดับที่สูงขึ้น จนก่อให้เกิดการบูรณาการ
               ทรัพยากร บุคลากร องค์ความรู้ และงบประมาณเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยั่งยืน


                      การพัฒนาประเทศตามแนวทางของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่ผ่าน
               มา ส่งผลให้ประเทศไทยมีระดับการพัฒนาที่สูงขึ้นตามล�าดับ ได้แก่ เศรษฐกิจไทยมีขนาด

               ใหญ่ขึ้น มีฐานการผลิตและบริการที่มีความเข้มแข็งและโดดเด่นในหลายสาขา และความ
               ร่วมมือกับมิตรประเทศทั้งในรูปทวิภาคีและพหุภาคี รวมถึงความร่วมมือกับประเทศในอนุ
               ภูมิภาคและอาเซียนมีความเข้มข้นและชัดเจนขึ้น ขยายโอกาสด้านการค้าและการลงทุนของ

               ไทยเพิ่มขึ้น ในขณะที่โครงสร้างพื้นฐานมีการพัฒนาครอบคลุมมากขึ้น และการบริการทาง
               สังคมทุกด้านที่มีความครอบคลุมทั่วถึง ท�าให้รายได้ประชาชนสูงขึ้นปัญหาความยากจนลด

               ลง และคุณภาพชีวิตประชาชนดีขึ้น

                      โครงสร้างเศรษฐกิจไทยมีความเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจและสังคมโลกมากขึ้น จึงท�าให้
               มีความอ่อนไหวและผันผวนตามปัจจัยภายนอก ในขณะที่ความสามารถในการแข่งขันปรับ

               ตัวช้า เนื่องจากการยกระดับห่วงโซ่มูลค่าการผลิตเกษตร อุตสาหกรรม และบริการสู่การใช้
               องค์ความรู้ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมยังด�าเนินการได้น้อย ท�าให้ฐานการผลิต
               เกษตร อุตสาหกรรม และบริการมีผลิตภาพการผลิตต�่าประกอบกับประเทศไทยยังประสบ                   ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี: โอกาส และความท้าทายของท้องถิ่นไทย

               ปัญหาคุณภาพในเกือบทุกด้าน ที่ส�าคัญได้แก่ คุณภาพคน คุณภาพการศึกษา คุณภาพ
               บริการสาธารณะและบริการสาธารณสุข สังคมไทยยังมีความเหลื่อมล�้าสูง ก่อให้เกิดความ

               แตกแยก การพัฒนาประเทศในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 จ�าเป็นต้องมีการเตรียมความ
               พร้อมเพื่อวางรากฐานของประเทศในระยะยาวให้มุ่งต่อยอดผลสัมฤทธิ์ของแผนที่สอดคล้อง
               เชื่อมโยงและรองรับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องกัน ไปตลอด 20 ปี ตามกรอบยุทธศาสตร์ชาติ

               (พ.ศ. 2560-2579)

                      ภาพรวมการพัฒนาในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 หลักการพัฒนาประเทศที่ส�าคัญ
               ในระยะแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 ยึดหลัก “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” “การพัฒนาที่

               ยั่งยืน” และ “คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา” ที่ต่อเนื่องจากแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9-11 และ
               ยึดหลักการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ลดความเหลื่อมล�้าและขับเคลื่อนการเจริญเติบโต

               จากการเพิ่มผลิตภาพการผลิตบนฐานการใช้ภูมิปัญญาและนวัตกรรม










                                                         หน้า 13
   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19