Page 16 - kpib28626
P. 16

วาระการวิจัยแห่งชาติ (National Research Agenda) ให้มีจุดเน้นที่ชัดเจน
                           เฉพาะเจาะจง และสอดคล้องกับสาขาเป้าหมายการพัฒนาประเทศ และ
                           ใช้กลยุทธ์ด้านนวัตกรรมบูรณาการวิจัยและพัฒนากับการน�าไปใช้ประโยชน์

                           ในเชิงพาณิชย์และการพัฒนานวัตกรรม

                       2.  การส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี

                           และนวัตกรรม โดยสนับสนุนการวิจัยพัฒนา การดัดแปลงและต่อยอดการ
                           พัฒนาเทคโนโลยีไปสู่ความเป็นอัจฉริยะโดยใช้เทคโนโลยีขั้นสูงและการผสม
                           ผสานเทคโนโลยี การพัฒนาผู้ประกอบการให้เป็นผู้ประกอบการทางเทคโนโลยี

                           (Technopreneur) รวมทั้งการเชื่อมโยงระหว่างภาคการผลิตที่เป็นกลุ่มใหญ่
                           ของประเทศ ได้แก่เกษตรกรรายย่อย วิสาหกิจชุมชน และวิสาหกิจขนาดกลาง

                           และขนาดย่อมกับสถาบันวิจัย และสถาบันการศึกษา รวมทั้งพัฒนาและยกระดับ
                           โครงสร้างพื้นฐานที่มีอยู่ให้ตอบสนองการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีแบบก้าว
                           กระโดด โดยเฉพาะเร่งสร้างและพัฒนาบุคลากรวิจัยในสาขา STEM (Science,

                           Technology, Engineering, and Mathematics) และสนับสนุนการด�าเนิน
                           งานอย่างเป็นเครือข่ายระหว่างสถาบันวิจัยสถาบันการศึกษา ภาครัฐ ภาคเอกชน

                           และภาคประชาชน/ชุมชน รวมทั้งการปรับกลไกระบบวิจัยและพัฒนาของ
                           ประเทศทั้งระบบ                                                                 ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี: โอกาส และความท้าทายของท้องถิ่นไทย

                       3.  การเตรียมพร้อมด้านก�าลังคนและการเสริมสร้างศักยภาพของประชากร

                           ในทุกช่วงวัย มุ่งเน้นการยกระดับคุณภาพทุนมนุษย์ของประเทศ โดยพัฒนา
                           คนให้เหมาะสมตามช่วงวัย เพื่อให้เติบโตอย่างมีคุณภาพ การหล่อหลอมให้คน
                           ไทยมีค่านิยมตามบรรทัดฐานที่ดีทางสังคม เป็นคนดี มีสุขภาวะที่ดีมีคุณธรรม

                           จริยธรรม มีระเบียบวินัย และมีจิตส�านึกที่ดีต่อสังคมส่วนรวม การพัฒนาทักษะ
                           ที่สอดคล้องกับความต้องการในตลาดแรงงานและทักษะที่จ�าเป็นต่อการด�ารง

                           ชีวิตในศตวรรษที่ 21 ของคนในแต่ละช่วงวัยตามความเหมาะสม การเตรียม
                           ความพร้อมของก�าลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่จะเปลี่ยนแปลงโลก
                           ในอนาคต ตลอดจนการยกระดับคุณภาพการศึกษาสู่ความเป็นเลิศ การสร้าง

                           เสริมให้คนมีสุขภาพดีที่เน้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทางสุขภาพและ
                           การลดปัจจัยเสี่ยงด้านสภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่อสุขภาพ









                                                         หน้า 15
   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21