Page 21 - kpib28626
P. 21

19. การปรับปรุงภาคการเงินของไทยให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นและให้สามารถ
                             แข่งขันได้ เร่งปรับปรุงกฎระเบียบในการก�ากับดูแลภาคการเงินเพื่อสนับสนุน
                             ความสามารถในการแข่งขันและการให้บริการต่อผู้บริโภคและภาคธุรกิจเอกชน

                             อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นธรรม รวมทั้งการก�ากับดูแลที่สามารถป้องกัน
                             ความเสี่ยงจากความเชื่อมโยงทางการเงินและกระแสการเคลื่อนย้ายของเงิน

                             ทุนที่จะมีรูปแบบที่เปลี่ยนแปลงไป และมีปริมาณธุรกรรมที่มากขึ้น ในขณะ
                             เดียวกันสนับสนุนการน�าเทคโนโลยีทางการเงินมาใช้อย่างเข้มข้น พัฒนาเครื่อง
                             มือทางการเงินเพื่อระดมทุนมาใช้สนับสนุนการลงทุนโครงการขนาดใหญ่ตลอด

                             จนขยายการเข้าถึงบริการทางการเงินอย่างทั่วถึงในต้นทุนที่เหมาะสม
      ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี: โอกาส และความท้าทายของท้องถิ่นไทย
                          20. การปฏิรูปด้านการคลังและงบประมาณ ประกอบด้วย การขยายฐานภาษี

                             การปรับระบบการจัดท�าค�าของบประมาณ การจัดสรรงบประมาณ การจัดท�า
                             งบประมาณบูรณาการทั้งเชิงประเด็นพัฒนาและเชิงพื้นที่ การติดตามและ
                             ประเมินผลการใช้จ่ายงบประมาณ และกระจายอ�านาจให้แก่องค์กรปกครอง

                             ส่วนท้องถิ่นในการจัดเก็บภาษีและค่าธรรมเนียม และลดความซ�้าซ้อนของสิทธิ
                             ประโยชน์ด้านสวัสดิการสังคม รวมทั้งสร้างความยั่งยืนทางการคลังของระบบ

                             การคุ้มครองทางสังคม ได้แก่ การปรับปรุงระบบการออมเพื่อการเกษียณอายุ
                             และการปรับปรุงระบบประกันสุขภาพ เพื่อลดภาระการพึ่งพารายได้จากรัฐบาล

                         จากการพิจารณาข้อมูลข้างต้นในด้านเป้าหมาย กลไก และผลลัพธ์ของการขับเคลื่อน

                  ยุทธศาสตร์ชาตินั้น ท�าให้เรามองเห็นภาพการพัฒนาประเทศโดยรวมที่จะสร้างความสุข
                  คุณภาพชีวิตที่ดีให้กับประชาชน ตลอดจนมีวิสัยทัศน์ในการพัฒนาประเทศที่จะสร้างการ
                  เปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่และท�าให้หลุดพ้นจากความอ่อนแอในการพัฒนาที่ผ่านมาได้ อย่างไร

                  ก็ตาม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในฐานะก�าลังหลักในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติดัง
                  กล่าว จึงต้องให้ความส�าคัญต่อยุทธศาสตร์ชาติ รับนโยบายไปสู่การปฏิบัติ เพื่อสร้างความ

                  พร้อมให้กับท้องถิ่นในการเดินหน้าปฏิรูปท้องถิ่นให้มีศักยภาพ ซึ่งการจะด�าเนินการให้เป็น
                  ไปตามเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติ ได้นั้น ยังคงมีความท้าทายอยู่ในหลากหลายมิติ ทั้งนี้
                  ผู้เขียนจะวิเคราะห์ความท้าทายในประเด็นส�าคัญ ๆ ที่ท้องถิ่นจะต้องเร่งท�าความเข้าใจ มอง

                  ให้ออก และพร้อมต่อการสร้างการเปลี่ยนแปลงเพื่อขับเคลื่อนท้องถิ่นให้ได้ซึ่งมีประเด็นการ
                  วิเคราะห์ในหลายมิติส�าคัญซึ่งเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน อันจะส่งผลกระทบท�าให้ท้องถิ่นต้อง

                  ปรับแผน ด้านคน ด้านการวางแผน ด้านเทคโนโลยี เพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการท�างาน
                  ดังจะขอยกมาอธิบาย ดังนี้




                                                       หน้า 20
   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26