Page 23 - kpib28626
P. 23
อีกทั้ง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเปิดโอกาสให้หน่วยงานภาครัฐอื่น ภาคเอกชน ภาค
ประชาสังคม และภาคประชาชนโดยทั่วไปเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างของ
อปท. อาทิเช่น
• มีส่วนร่วมในการก�าหนดแนวทางการเฝ้าระวังการทุจริตคอร์รัปชันเกี่ยวกับ
การให้สินบนหรือเงินพิเศษหรือความสะดวกสบายแก่เจ้าหน้าที่ และการให้ความ
ช่วยเหลือเป็นพิเศษ (การวิ่งเต้นในทางมิชอบ) เพื่อผลประโยชน์ให้กับตนเองและ
พวกพ้องหรือบุคคลอื่นอย่างไม่เป็นธรรม
• มีส่วนร่วมในการจัดท�าฐานข้อมูลการจัดเก็บภาษี ค่าธรรมเนียม และ
ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี: โอกาส และความท้าทายของท้องถิ่นไทย
งบประมาณในแต่ละปี ตลอดจนงบการเงินตามที่หน่วยตรวจสอบก�าหนด และ
เผยแพร่แก่สาธารณะชนอย่างน้อย 3 ปีย้อนหลัง
• มีการเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับรายได้ของ อปท. และสถานะทางการเงินให้แก่ภาค
ประชาชน ทราบและเข้าถึงได้ตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.
2540 ขณะเดียวกันจะต้องความหลากหลายของโครงการหรือกิจกรรมเผยแพร่
ข้อมูล อาทิเช่น การเผยแพร่ข้อมูลดังกล่าวบนสื่อสังคมออนไลน์ เป็นอาทิ
4. กระบวนการกิจการสภาท้องถิ่น
สภาท้องถิ่นในฐานะเป็นตัวแทนของประชาชน ในการเสนอข้อบัญญัติ/เทศบัญญัติ
การพิจารณางบประมาณ และการติดตามตรวจสอบการท�างานของคณะผู้บริหาร อปท.สมาชิก
สภา อปท. มีการยื่นกระทู้ถามคณะผู้บริหาร อปท. สภา อปท. มีช่องทางเปิดโอกาสให้ประชาชน
มีส่วนร่วมรับฟังการประชุมสภา อปท. และเปิดโอกาส ให้ประชาชนร่วมแสดงความคิดเห็น หรือ
หาก อปท.มีการตราข้อบัญญัตินอกเหนือจากข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจ�าปี ข้อ
บัญญัติดังกล่าวควรมาจากการเสนอโดยภาคประชาชนหรือกลุ่ม องค์กรภาคประชาสังคม
5. การจัดโครงสร้างการท�างานในการด�าเนินโครงการ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จะต้องมีการจัดโครงสร้างการท�างานในรูปแบบคณะ
กรรมการ กล่าวคือ ควรมีการจัดตั้งคณะกรรมการด�าเนินโครงการฯ ซึ่งเป็นคณะกรรมการร่วม
ที่ไม่มีสถานะนิติบุคคลที่ประกอบด้วย ผู้แทนจากหน่วยงาน/ฝ่ายที่เกี่ยวข้อง และผู้แทนจาก
หน่วยงานทั้งภาครัฐ ภาคธุรกิจเอกชน ภาคประชาสังคม และประชาชน นอกจากนี้ ควรมีการ
ร่วมกันลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) อย่างเป็นทางการ เพื่อเป็นกติกาในการ
ท�างานร่วมกัน มีการประสานความร่วมมือระหว่างกันจะมีทั้งความสัมพันธ์ในรูปแบบที่เป็น
ทางการและไม่เป็นทางการผสมกันไป
หน้า 22