Page 22 - kpib28626
P. 22

1. การจัดท�าแผนพัฒนาท้องถิ่นและแผนอื่นๆ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

                      องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะต้องมีแนวทางที่เป็นรูปธรรมเพื่อเปิดโอกาสให้หน่วย
               ราชการ ภาคเอกชน ภาคประชาคม รวมทั้งกลุ่มองค์กรชุมชนหลากหลายในพื้นที่ ตลอดจน

               กลุ่มสตรีและกลุ่มผู้ด้อยโอกาสเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดท�าหรือปรับแผนพัฒนาท้องถิ่น
               กล่าวคือ มีผู้แทนจาก อปท. อื่น + ผู้แทนภาคเอกชนหรือกลุ่มสมาชิกภาคธุรกิจเอกชน (เช่น

               หอการค้า) + ปราชญ์ชาวบ้าน + ผู้แทนองค์กรสตรี + กลุ่มคนด้อยโอกาส (เช่น คนพิการ เป็น
               อาทิ  องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะต้องมีการแต่งตั้งผู้แทนกลุ่ม/องค์กรต่างๆ ในพื้นที่
               เป็น“คณะกรรมการพัฒนาท้องถิ่น” และ “คณะกรรมการประสานแผนพัฒนาท้องถิ่น”

               ตลอดจนมีการประชุมคณะกรรมการเป็นประจ�า

                      องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะต้องมีการแต่งตั้งผู้แทนกลุ่ม/องค์กรต่างๆ ในพื้นที่เป็น
               “คณะกรรมการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาท้องถิ่น” ซึ่งประกอบไปด้วยหลาย

               ภาคส่วน และมีการประชุมคณะกรรมการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาท้องถิ่น

                      2. การจัดบริการสาธารณะ

                      องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะต้องเปิดโอกาสให้องค์กรภาคประชาสังคมในพื้นที่และ

               ประชาชนโดยทั่วไปมีส่วนร่วมในการ (1) ริเริ่มหรือเสนอ (2) ร่วมให้ข้อมูล/แสดงความ             ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี: โอกาส และความท้าทายของท้องถิ่นไทย
               คิดเห็น (3) การตัดสินใจและพิจารณาเห็นชอบ (4) ร่วมในการด�าเนินงาน (5) ร่วม
               ติดตามและประเมินผล ในแผนงาน โครงการ และกิจกรรมของ อปท. โดยมีความหลาก

               หลายของวิธีการให้ภาคส่วนต่าง ๆ มีส่วนร่วมในการริเริ่มหรือเสนอแผนงานโครงการ และ
               กิจกรรมของ อปท. ที่หลากหลาย ทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ โดยมีเป้าหมายให้

               ภาคประชาสังคมในพื้นที่และประชาชนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมได้มากที่สุด อาจจะต้องลด
               พิธีการหรือความเป็นราชการลง ใช้รูปแบบของการลงพื้นที่ สภากาแฟ เพื่อให้ประชาชนรู้สึก
               เป็นกันเอง มีความกล้าที่จะเข้ามามีส่วนร่วม ซึ่งจะต้องอาศัยทักษะของผู้รับผิดชอบโครงการ/

               ผู้ประสานงานว่า “ท�าไรอย่างไรประชาชนหรือภาคส่วนต่าง ๆ เข้ามามีส่วนร่วมมากที่สุด”

                      3. การบริหารการเงิน การคลัง และการงบประมาณ


                      องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จะต้องมีแนวทางการบริหารการเงินการคลังของ อปท.
               ให้เป็นไปตามระเบียบและกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ,
               หลักการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี และหลักการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน อปท.

               มีกิจกรรมสร้างความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชนเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีค่าธรรมเนียมต่าง ๆ
               เป็นประจ�า



                                                         หน้า 21
   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27