Page 26 - kpib28626
P. 26

เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) คืออะไร?


                      สืบเนื่องจากการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจจากการพัฒนาในด้านอุตสาหกรรม
               วิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีในช่วง 4 ทศวรรษที่ผ่านมา เป็นการพัฒนาที่ก่อให้เกิดผลกระทบ
               และความเสียหายต่อทรัพยากรโลกเป็นอย่างมาก ดังนั้นเพื่อให้เกิดการพัฒนาร่วมกัน ประเทศ

               ต่าง ๆ ทั่วโลกรวม 189 ประเทศ จึงรวมตัวกันในการประชุมองค์การสหประชาชาติที่มหานคร
               นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา และเห็นพ้องต้องกันในการตั้งเป้าหมายการพัฒนา ทั้งในระดับชาติ

               และระดับสากลที่ทุกประเทศจะด�าเนินการร่วมกันให้ได้ภายในปี 2558 หรือที่เรียกว่า เป้า
               หมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ หรือ Millennium Development Goals (MDGs)

                      อย่างไรก็ดี หลังจากที่เป้าหมาย การพัฒนาแห่งสหัสวรรษ (Millennium Development

               Goals-MDGs) จ�านวน 8 เป้าหมายได้สิ้นสุดแล้วในปี 2558 ที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่ง
               สหประชาชาติ (United Nations General Assembly) ประชุมสุดยอดว่าด้วยการพัฒนา
               ที่ยังยืน (Sustainable Development Summit) เมื่อวันที่ 25 ก.ย. 2558 โดยเป็นการ

               ประชุมเต็มคณะของ United Nations Summit for the Adoption of the Post-2015
               Development Agenda เพื่อวางกรอบวาระการพัฒนาที่ยั่งยืนของโลกในช่วง 15 ปีข้างหน้า

               โดยผู้น�าของประเทศสมาชิกได้รับรองวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ปี ค.ศ. 2030 (2030 Agenda
               for Sustainable Development) วาระดังกล่าวได้มีการก�าหนด “เป้าหมายการพัฒนา                  ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี: โอกาส และความท้าทายของท้องถิ่นไทย
               ที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs)” โดยมีการตั้งเป้าหมายทั้งสิ้น 17

               เป้าหมาย (Goals)     169 เป้าประสงค์ (Targets) เพื่อใช้เป็นแผนที่น�าทางส�าหรับการพัฒนา
               ที่ยั่งยืน ในอีก 15 ปีข้างหน้า โดยภายใต้กรอบเป้าหมายนี้ ในที่ประชุมสหประชาชาติ ล้วนมี

               ความเห็นตรงกันว่า การจะบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนได้นั้น จ�าเป็นจะต้อง “สร้างความ
               สมดุลให้เกิด ขึ้นทั้ง มิติเศรษฐกิจ (Economic Dimension) มิติทางสังคม (Social Dimension)
                และมิติด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Dimension)” ดังนี้ (พิริยะ ผลพิรุฬห์, 2560)


                       เป้าหมายที่ 1  ยุติความยากจนทุกรูปแบบในทุกที่

                       เป้าหมายที่ 2   ยุติความหิวโหยบรรลุความมั่นคงทางอาหารและยกระดับโภชนาการ
                                     และส่งเสริม เกษตรกรรมที่ยังยืน


                       เป้าหมายที่ 3   สร้างหลักประกันว่าคนมีชีวิตที่มีสุขภาพดีและส่งเสริมสวัสดิภาพ
                                     ส�าหรับทุกคนในทุกวัย

                       เป้าหมายที่ 4   สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุม

                                     และเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต



                                                         หน้า 25
   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31