Page 15 - kpib28626
P. 15
ส�าหรับการก�าหนดวิสัยทัศน์ของแผนพัฒนาฯ ฉบับนี้ยึดวิสัยทัศของกรอบยุทธศาสตร์
ชาติที่ก�าหนดว่า “ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว
ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” ในขณะที่การก�าหนดเป้าหมาย
และตัวชี้วัดในด้านต่าง ๆ ของแผนพัฒนาฯ ได้ยึดเป้าหมายอนาคตประเทศไทยปี 2579
ที่เป็นเป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี มาเป็นกรอบในการก�าหนดเป้าหมายที่จะบรรลุใน
5 ปี โดยที่เป้าหมายและตัวชี้วัดต้องสอดคล้องกับกรอบเป้าหมายการพัฒนาเศรษฐกิจ
สังคม และสิ่งแวดล้อม ที่องค์กรระหว่างประเทศก�าหนดขึ้น อาทิ การพัฒนาที่ยั่งยืน
(Sustainable Development Goals: SDGs) ที่องค์การสหประชาชาติก�าหนดขึ้น เป็นต้น
ส่วนแนวทางการพัฒนา ได้บูรณาการนโยบายหรือประเด็นพัฒนาที่ส�าคัญของประเด็น
ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี: โอกาส และความท้าทายของท้องถิ่นไทย
การปฏิรูปประเทศ 37 วาระ และ ไทยแลนด์ 4.0
การจัดท�าแผนขับเคลื่อนและการติดตามประเมินผล เน้นกระบวนการมีส่วนร่วม
ทั้งจากภาครัฐ เอกชน ประชาชน และภาคการศึกษา ในทุกพื้นที่ของประเทศ เป็นกลไก
ประชารัฐที่รวมพลังให้สามารถก�าหนดเป้าหมาย แนวทางการพัฒนา รวมทั้งแผนงานโครงการ
ส�าคัญที่ตอบสนองความต้องการและแก้ไขปัญหาให้กับประชาชนได้อย่างสอดคล้อง
กับภูมิสังคมและเกิดผลสัมฤทธิ์อย่างจริงจังใน 5 ปี (ส�านักงานคณะกรรมการ
พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2560: 1-2)
ภายใต้เงื่อนไขและสภาพแวดล้อมด้านเศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรรมชาติและ
สิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นทั้งในและต่างประเทศดังกล่าว จะเป็นแรงกดดันให้ประเทศไทยต้อง
ปรับตัวและมีการบริหารความเสี่ยงอย่างชาญฉลาดมากขึ้น ต่อจากนี้ไปประเทศไทยต้อง
ปรับเปลี่ยนครั้งใหญ่ เพื่อแก้ไขปัญหารากฐานส�าคัญที่เป็นจุดอ่อนและข้อจ�ากัดของประเทศ
ที่สั่งสมมานาน ในขณะเดียวกันด�าเนินยุทธศาสตร์เชิงรุกเพื่อใช้ประโยชน์จากจุดแข็งและ
จุดเด่นของประเทศ ดังนั้นจึงมีความจ�าเป็นที่จะต้องให้ความส�าคัญกับประเด็นที่มีลักษณะ
การบูรณาการ และใช้ประกอบการพิจารณาการจัดสรรงบประมาณ เพื่อการแปลงแผนไปสู่
การปฏิบัติเกิดผลสัมฤทธิ์ได้อย่างแท้จริง ในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้ (ส�านักงานคณะกรรมการ
พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2560ข: 3-7)
1. การพัฒนานวัตกรรมและการน�ามาใช้ขับเคลื่อนการพัฒนาในทุกมิติ
เพื่อยกระดับศักยภาพของประเทศ โดยจะมุ่งเน้นการน�าความคิดสร้างสรรค์
และการพัฒนานวัตกรรม ท�าให้เกิดสิ่งใหม่ที่มีมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจทั้งใน
เรื่องกระบวนการผลิตและรูปแบบผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ ๆ โดยการก�าหนด
หน้า 14