Page 10 - kpib28626
P. 10

ใครคือคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ ?


                      ตามกฎหมายฉบับที่เพิ่งผ่านความเห็นชอบโดย สนช. คณะกรรมการที่มีบทบาท
               ส�าคัญต่อการจัดท�ายุทธศาสตร์ชาติประกอบด้วยคณะกรรมการสองชุด ชุดแรก คือ
               คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และชุดที่สอง คือ

               คณะกรรมการจัดท�ายุทธศาสตร์ชาติ ที่แต่งตั้งโดยคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ ในบทความ
               ฉบับนี้จะเรียกคณะกรรมการทั้งสองชุดว่า ‘ชุดใหญ่’ และ ‘ชุดเล็ก’ ตามล�าดับเพื่อให้ง่าย

               ต่อการอ่านท�าความเข้าใจ ทั้งนี้ คณะกรรมการทั้งชุดใหญ่และชุดเล็กสามารถแต่งตั้ง
               คณะกรรมการ ‘ชุดย่อย’ เพิ่มเติมได้อีก

                      คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ หรือคณะกรรมการชุดใหญ่ ประกอบด้วยกรรมการ

               4 กลุ่ม ดังนี้  ข้าราชการการเมือง ประกอบด้วย (1) นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน (2) ประธาน
               สภาผู้แทนราษฎร (3) ประธานวุฒิสภา และ (4) รองนายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรี
               ที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย ข้าราชการประจ�า ซึ่งส่วนใหญ่เป็นข้าราชการประจ�าที่เกี่ยวข้อง

               กับความมั่นคง ประกอบด้วย (1) ปลัดกระทรวงกลาโหม (2) ผู้บัญชาการทหารสูงสุด
               (3) ผู้บัญชาการทหารบก (4) ผู้บัญชาการทหารเรือ (4) ผู้บัญชาการทหารอากาศ

               (5) เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ และ (6) ประธานกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและ
               สังคมแห่งชาติ ตัวแทนองค์กรที่ด�าเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ประกอบด้วย (1) ประธานสภา            ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี: โอกาส และความท้าทายของท้องถิ่นไทย
               เกษตรกรแห่งชาติ (2) ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย (3) ประธานสภาอุตสาหกรรม

               แห่งประเทศไทย (4) ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และ (5) ประธาน
               สมาคมธนาคารไทย และผู้ทรงคุณวุฒิ จ�านวนไม่เกิน 17 คน ซึ่งแต่งตั้งโดยคณะรัฐมนตรี

                      ยุทธศาสตร์ชาติ เป็นเป้าหมายการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนตามหลักธรรมาภิบาล

               เพื่อใช้เป็นกรอบในการจัดท�าแผนต่าง ๆ ให้สอดคล้องและบูรณาการกัน เพื่อให้เกิดเป็น
               พลังผลักดันร่วมกันไปสู่เป้าหมายดังกล่าว โดยในการจัดท�า การก�าหนดเป้าหมาย

               ระยะเวลาที่จะบรรลุเป้าหมาย และสาระที่พึงมีในยุทธศาสตร์ชาติ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์
               และวิธีการที่กฎหมายบัญญัติและกฎหมายดังกล่าวต้องมีบทบัญญัติเกี่ยวกับการมีส่วนร่วม
               และการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนทุกภาคส่วนอย่างทั่วถึงด้วย
















                                                         หน้า 9
   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15