Page 144 - kpi23788
P. 144
1.5.6 การจัดทำข้อมูลค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 และ PM10
กระบวนการประมวลผลข้อมูลความเข้มข้นและการกระจายตัวของฝุ่นละอองขนาดเล็ก
(PM2.5 และ PM10) จากความลึกเชิงแสงของฝุ่นละออง (Aerosol Optical Depth: AOD) ของดาวเทียม
Terra/Aqua มีรายละเอียดดังนี้
1) รับสัญญาณดาวเทียม Terra/Aqua ที่ สทอภ. (ศรีราชา) ประมวลผลและผลิตข้อมูลความ
ลึกเชิงแสงของฝุ่นละออง (AOD) ด้วยผลิตภัณฑ์ MOD04 ที่จัดเก็บไฟล์ข้อมูลในรูปแบบ HDF (*.hdf)
2) ประมวลผลข้อมูลฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5 และ PM10) จากข้อมูลความลึกเชิงแสงของ
ละอองลอย (AOD) และจัดทำแผนที่ความเข้มข้นและการกระจายฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5 และPM10)
แบบอัตโนมัติ จัดเก็บไฟล์ผลผลิตตั้งต้นในรูปแบบ GeoTiff (*.tif) และแผนที่ค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5
และ PM10 ในรูปแบบ JPEG
1.5.7 การจัดทำข้อมูลกลุ่มหมอกควันและทิศทางลม
การวิเคราะห์ข้อมูลการปกคลุมของกลุ่มหมอกควันที่ครอบคลุมพื้นที่ประเทศไทย ดำเนินการ
2 ช่วงเวลา ด้วยข้อมูลจากดาวเทียม Terra (10.00-11.00 น.) และดาวเทียม Aqua (เวลา 13.00-14.00 น.)
4
ของ NASA ที่มีรายละเอียดจุดภาพ 250 เมตร เพื่อเป็นตัวแทนของการติดตามสถานการณ์ช่วงเช้าและช่วง
บ่าย ตามลำดับ ประกอบกับในช่วงเวลานี้จะมีการสะสมของฝุ่นละอองขนาดเล็กจำนวนมาก และยังสามารถ
สังเกตเห็นกลุ่มควันได้ชัดเจนกว่าข้อมูลในช่วงกลางคืน โดยดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลจากข้อมูลภาพสีผสมจริง
(True color composite) ของข้อมูลดาวเทียม Terra และ Aqua ระบบ MODIS ด้วยวิธีสังเคราะห์เชิงวัตถุ
(Object Oriented Analysis) และดำเนินการตรวจสอบความถูกต้องจากผลการวิเคราะห์ด้วยสายตา (Visual
interpretation) จากนั้นดำเนินการจัดทำแผนที่แสดงการปกคลุมของหมอกควัน
5
ข้อมูลการคาดการณ์ความเร็วและทิศทางลม ดำเนินการดาวน์โหลดข้อมูลจาก NOAA โดย
เลือกใช้ข้อมูลในช่วงเวลา 15.00 น. (โดยประมาณ) จากนั้นนำมาประมวลผลผ่านโปรแกรม NOAA Weather
and Climate Toolkit และ Python ตามลำดับ จะได้ข้อมูลความเร็วลมและทิศทางลม ในรูปแบบ GIS
(*.shp) และนำข้อมูลนี้มาจัดทำแผนที่การคาดการณ์ความเร็วและทิศทางลมในรูปแบบ JPEG
1.5.8 การเผยแพร่และให้บริการข้อมูล
การเผยแพร่และให้บริการ ข้อมูลจุดความร้อน พื้นที่เผาไหม้ พื้นที่เสี่ยงไฟป่า ฝุ่นละออง
ขนาดเล็ก (PM2.5 และ PM10) แผนที่แสดงกลุ่มหมอกควัน และแผนที่แสดงคาดการณ์ความเร็วและ
ทิศทางลม (ข้อ 1.5.2-1.5.6) รายงานสรุป Hotspot Dashboard จากข้อมูล VIIRS ผ่านเว็บแอพพลิเคชั่น
(Web Application) ได้ที่ http://fire.gistda.or.th ดังภาพที่ 1.10 และปัจจุบัน สทอภ. ได้พัฒนาระบบ
4 https://wvs.earthdata.nasa.gov/
5 https://ftp.ncep.noaa.gov/
รายงานสรุปสถานการณ์ไฟป่าและหมอกควัน ปี 2566 โดยใช้เทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ 15
สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน): สทอภ.