Page 139 - kpi23788
P. 139
1.5.1 การจัดเตรียมข้อมูลก่อนการประมวลผล
1) ข้อมูลจุดความร้อนจากดาวเทียม Terra/Aqua ระบบ MODIS จะเลือกใช้ข้อมูลจุดความ
ร้อนแบบ Near real-time ในรูปแบบ Text file (*.txt) ซึ่งให้บริการโดย NASA Fire Information for
3
Resource Management System (NASA-FIRMS) และกำหนดให้ดาวน์โหลดข้อมูลแบบอัตโนมัติทุก 15
นาที โดยเฉพาะในช่วงที่เป็นเวลารับสัญญาณตามที่ระบุไว้ในข้อ 1.4.1 เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการประมวลผล
ร่วมกับข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้องต่อไป ในส่วนข้อมูลจุดความร้อนจากข้อมูล VIIRS ของดาวเทียม Suomi NPP จะ
ดำเนินการรับสัญญาณ ณ สถานีรับสัญญาณศรีราชาของ สทอภ. โดยใช้จานรับสัญญาณของข้อมูล MODIS ใน
ระหว่างวันที่ 1 มกราคม–31 พฤษภาคม เพื่อให้ได้ข้อมูลสำหรับการนำไปประมวลผลแบบ Near real-time
สำหรับนำไปใช้ในการบริหารจัดการไฟป่าได้อย่างทันท่วงที
2) การวิเคราะห์พื้นที่เผาไหม้โดยดาวน์โหลดข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม Landsat-8,9 จากเว็บ
ไซด์ของ USGS (https://www.usgs.gov) ตามรอบการรับสัญญาณดาวเทียม ทุก 16 วัน โดยนำมาผ่าน
กระบวนการปรับแก้ความคลาดเคลื่อนเชิงรังสี (Radiometric correction) เพื่อปรับแก้ความคลาดเคลื่อนอัน
เนื่องจากการรบกวนของชั้นบรรยากาศ และการตรวจแก้ความคลาดเคลื่อนเชิงเรขาคณิต (Geometric
correction) เพื่อปรับแก้พิกัดตำแหน่งของวัตถุต่างๆ บนข้อมูลจากดาวเทียมให้มีความถูกต้องของค่าพิกัด
ตำแหน่งเดียวกันกับตำแหน่งบนพื้นโลก และกระบวนการเน้นข้อมูลภาพ (Image enhancement) เป็น
ขั้นตอนการปรับเปลี่ยนค่าของจุดภาพหรือค่าระดับสีเทา (grey level) เพื่อเพิ่มรายละเอียดความชัดเจนของ
ข้อมูลภาพดาวเทียม หรือการเพิ่มระดับความแตกต่างระหว่างวัตถุ ทำให้สังเกตเห็นขอบเขตของวัตถุต่างชนิด
กันได้ชัดเจนมากขึ้น (สทอภ., 2552)
1.5.2 การประมวลผลข้อมูลจุดความร้อน
หลังจากได้ข้อมูลจุดความร้อนทั้งจากระบบ MODIS และ VIIRS ในรูปแบบข้อมูล GIS (*.shp) ที่
ผ่านการจัดเตรียมในข้อ 1.5.1 แล้ว จะนำมาซ้อนทับกับข้อมูลขอบเขตการปกครอง และข้อมูลการใช้ที่ดิน
(Land use) จำแนกตามพื้นที่รับผิดชอบ พร้อมวิเคราะห์ระยะทางระหว่างจุดความร้อนและหมู่บ้านใกล้เคียง
เพื่อใช้เป็นจุดอ้างอิงของเจ้าหน้าที่ในพื้นที่สำหรับใช้ในการวางแผนและเข้าตรวจสอบพื้นที่ และข้อมูลนี้จะ
จัดทำเป็นแผนที่ (*.jpg) และตาราง (*.xlsx)
1.5.3 การประเมินพื้นที่เผาไหม้จากข้อมูลดาวเทียมต่างช่วงเวลา
การประเมินพื้นที่เผาไหม้ (burned scar) ด้วยการใช้ข้อมูลจากดาวเทียม Landsat-8,9 และ
Sentinel-2 ต่างช่วงเวลาที่มีการบันทึกภาพทุก 16 และ 5 วัน ตามลำดับ มาดำเนินการวิเคราะห์เป็นข้อมูล
หลัก โดยใช้ภาพต่างช่วงเวลา คือ ภาพช่วงก่อนเกิดไฟป่า และภาพหลังเกิดไฟป่า และเลือกใช้ช่วงคลื่น
อินฟราเรดกลาง (Middle Infrared: MIR) ช่วงคลื่นอินฟราเรดใกล้ (Near Infrared: NIR) และช่วงคลื่นแสงสี
เขียว (Green) เนื่องจากบริเวณพื้นที่มีการเผาไหม้จะปรากฎเห็นเป็นสีม่วงเข้มบนภาพดาวเทียม ทำให้สามารถ
วิเคราะห์และติดตามพื้นที่ไฟไหม้ได้อย่างชัดเจน ดังภาพที่ 1.5 และภาพที่ 1.6
3 https://firms.modaps.eosdis.nasa.gov
รายงานสรุปสถานการณ์ไฟป่าและหมอกควัน ปี 2566 โดยใช้เทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ 10
สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน): สทอภ.