Page 134 - kpi23788
P. 134

algorithm (NASA, 2563) ด้วยคุณสมบัตินี้ช่วยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการบริหารจัดการด้านไฟป่าสามารถ

               ได้ข้อมูลติดตามสถานการณ์ได้ต่อเนื่องมากยิ่งขึ้น

                       1.4.4 ข้อมูลจากดาวเทียม Landsat-8,9


                            ดาวเทียม Landsat-8, 9 ขึ้นสู่วงโคจร เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2556 และ 27 กันยายน 2564 ทั้ง

               สองดวงนี้มีรอบการบันทึกภาพซ้ำที่เดิมทุก 16 วัน และมีความกว้างของการถ่ายภาพครอบคลุมพื้นที่ 170 กม.
               X 185 กม. (หรือ 106 ไมล์ x 115 ไมล์)


                            ดาวเทียม Landsat-8,9 มีระบบบันทึกข้อมูล 2 ระบบ ประกอบด้วย OLI/TIRS และ OLI-

               2/TIRS-2 ตามลำดับ โดยที่ 1) ระบบ Operational Land Imager (OLI) ซึ่งจะสามารถบันทึกตั้งแต่ช่วงคลื่น

               สายตามองเห็น (Visible band) ช่วงคลื่นอินฟราเรดกลาง (Middle Infrared) (แบนด์ 1 ถึง แบนด์ 9) โดย
               ระบบนี้มีการตรวจจับเมฆเซอร์รัส (cirrus clouds) และเพิ่มการสังเกตการณ์บริเวณชายฝั่งจากระบบ ETM+

               เพิ่มเติมจากดาวเทียม Landsat-7 (ภาพที่ 1.3) และ 2) ระบบ Thermal Infrared Sensor (TIRS) ที่บันทึก

               ในช่วงคลื่นอินฟราเรดความร้อน(แบนด์ 10 และแบนด์ 11) รายละเอียดจุดภาพของข้อมูลดาวเทียม Landsat-
               8 ทั้งระบบบันทึก OLI และ TIRS แสดงในตารางที่ 1.1































              ภาพที่ 1.3  การเปรียบเทียบแถบช่วงคลื่นของระบบบันทึก OLI ของดาวเทียม Landsat-8,9 กับระบบ ETM+
              ของ Landsat-7















                                              รายงานสรุปสถานการณ์ไฟป่าและหมอกควัน ปี 2566 โดยใช้เทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ         5
                                              สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน): สทอภ.
   129   130   131   132   133   134   135   136   137   138   139