Page 133 - kpi23788
P. 133
1.4.2 ข้อมูลจากดาวเทียม Suomi NPP ระบบ VIIRS
ด้วยข้อจำกัดเรื่องรายละเอียดเชิงพื้นที่ของข้อมูล MODIS ที่มีขนาด 1x1 กิโลเมตร ซึ่งยากต่อ
การตรวจจับพื้นที่เกิดไฟป่าขนาดเล็ก และเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการติดตามจุดความร้อนในพื้นที่ประเทศ
ไทยให้มากยิ่งขึ้น จึงได้นำข้อมูลจุดความร้อนที่ได้จากระบบ Visible Infrared Imaging Radiometer Suite
(VIIRS) ที่ติดตั้งบนดาวเทียม Suomi National Polar-orbiting Partnership หรือเรียกว่า Suomi NPP ที่มี
ความละเอียด 375 เมตร และ 750 เมตร ซึ่งความละเอียดที่ดีขึ้นช่วยให้การตรวจจับจุดความร้อนที่มีขนาดเล็ก
ได้ดีกว่าระบบ MODIS ถึง 3 เท่า ดังภาพที่ 1.2 แสดงการเกิดไฟจากดาวเทียม Aqua ระบบ MODIS และ
Suomi NPP ระบบ VIIRS เปรียบเทียบกับพื้นที่เผาไหม้จากดาวเทียม Landsat-7 (รายละเอียดจุดภาพ 30
เมตร) บันทึกข้อมูลวันที่ 31 มีนาคม 2556 บริเวณ Taim Ecological Reserve ทางภาคใต้ของประเทศ
บราซิล (NASA, 2563)
Aqua ระบบ MODIS Suomi NPP ระบบ VIIRS Suomi NPP ระบบ VIIRS
ความละเอียด 1,000 เมตร ความละเอียด 750 เมตร ความละเอียด 375 เมตร
ภาพที่ 1.2 แผนที่แสดงตัวอย่างการตรวจจับพื้นที่เกิดไฟจากระบบ MODIS ของดาวเทียม Aqua และระบบ
VIIRS ของดาวเทียม Suomi NPP
1.4.3 ข้อมูลจากดาวเทียม NOAA-20 ระบบ VIIRS
ดาวเทียม National Oceanic and Atmospheric Administration-20 หรือ NOAA-20 เป็น
หนึ่งในภารกิจหลักของ NASA ภายใต้ชื่อ Joint Polar Satellite System (JPSS) เป็นหนึ่งในความร่วมมือ
ระหว่าง NOAA และ NASA ในการพยากรณ์ ติดตามสภาวะอากาศและสิ่งแวดล้อมของโลก ดาวเทียมนี้มีความ
ละเอียดเชิงพื้นที่ (Spatial Resolution) 375 เมตร เวลาของการบันทึกข้อมูลต่างจากดาวเทียม Suomi NPP
ราว 50 นาที (โดยประมาณ) และมีความถี่ของการบันทึกภาพ (Temporal Resolution) 3-4 รอบต่อวัน
ตั้งแต่ปี 2561 สทอภ. ได้รับสัญญาณข้อมูลจากดาวเทียม Suomi NPP ที่โคจรผ่านพื้นที่ประเทศไทย วันละ 2
ช่วงเวลา คือ เวลา 12.00-14.00 น. และ 01.00-02.00 น. สำหรับข้อมูลจุดความร้อนสะสม (VIIRS active
fire hotspots) ยังคงใช้โมเดลของ NASA ซึ่งมีพื้นฐานจาก MODIS collection 4 and 5 active fire
รายงานสรุปสถานการณ์ไฟป่าและหมอกควัน ปี 2566 โดยใช้เทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ 4
สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน): สทอภ.