Page 137 - kpi23788
P. 137

ปัจจุบันมีดาวเทียมหลายดวงที่สามารถวัดค่าพารามิเตอร์ AOD และนำมาใช้ในการคาดการณ์

               และติดตามฝุ่นละอองขนาดเล็ก เช่น ระบบ Moderate Resolution Imaging Spectroradiometer (MODIS)
               และระบบ Multi-angle Imaging Spectro Radiometer (MISR) ที่ติดตั้งบนดาวเทียม Terra ซึ่งในการ

               ดำเนินการครั้งนี้จึงนำข้อมูลนี้วิเคราะห์ค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก ทั้ง PM2.5 และ PM10 และจัดทำเป็นแผนที่

               แสดงค่าดัชนีคุณภาพอากาศ AQI (Air Quality Index) ของประเทศไทย ที่แสดงค่าระดับคะแนน 0 ถึง 201
               ขึ้นไป และแบ่งช่วงชั้นออกเป็น 5 ระดับ ซึ่งแต่ละระดับจะใช้สีเป็นสัญลักษณ์เปรียบเทียบระดับของผลกระทบ

               ต่อสุขภาพอนามัย (ตารางที่ 1.3) โดยค่าดัชนีคุณภาพอากาศ 100 จะมีค่าเทียบเท่ามาตรฐานคุณภาพอากาศ
               ในบรรยากาศโดยทั่วไป หากค่าดัชนีคุณภาพอากาศมีค่าสูงเกินกว่า 100 แสดงว่าความเข้มข้นของมลพิษทาง

               อากาศมีค่าเกินมาตรฐานและคุณภาพอากาศในวันนั้นจะเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน


              ตารางที่ 1.3 เกณฑ์ของดัชนีคุณภาพอากาศของประเทศไทย (กรมควบคุมมลพิษ)
                   AQI          ความหมาย         สีที่ใช้                     คำอธิบาย

                   0 - 25   คุณภาพอากาศดีมาก      ฟ้า    คุณภาพอากาศดีมาก เหมาะสำหรับกิจกรรมกลางแจ้งและการท่องเที่ยว
                                                         คุณภาพอากาศดี สามารถทำกิจกรรมกลางแจ้งและการท่องเที่ยวได้
                  26 - 50  คุณภาพอากาศดี          เขียว
                                                         ตามปกติ
                                                         ประชาชนทั่วไป : สามารถทำกิจกรรมกลางแจ้งได้ตามปกติ
                  51 - 100  ปานกลาง              เหลือง   ผู้ที่ต้องดูแลสุขภาพเป็นพิเศษ : หากมีอาการเบื้องต้น เช่น ไอ หายใจ
                                                         ลำบาก ระคายเคืองตา ควรลดระยะเวลาการทำกิจกรรมกลางแจ้ง

                                                         ประชาชนทั่วไป : ควรเฝ้าระวังสุขภาพ ถ้ามีอาการเบื้องต้น เช่น ไอ
                                                         หายใจลำบาก ระคายเคืองตา ควรลดระยะเวลาการทำกิจกรรมกลางแจ้ง
                                                         หรือใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเองหากมีความจำเป็น
                 101 - 200  เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ   ส้ม   ผู้ที่ต้องดูแลสุขภาพเป็นพิเศษ : ควรลดระยะเวลาการทำกิจกรรม
                                                         กลางแจ้ง หรือใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเองหากมีความจำเป็น ถ้ามีอาการ
                                                         ทางสุขภาพ เช่น ไอ หายใจลำบาก ตาอักเสบ แน่นหน้าอก ปวดศีรษะ

                                                         หัวใจเต้นไม่เป็นปกติ คลื่นไส้ อ่อนเพลีย ควรปรึกษาแพทย์
                                                         ทุกคนควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้งหลีกเลี่ยงพื้นที่ที่มีมลพิษทาง
                 201 ขึ้นไป  มีผลกระทบต่อสุขภาพ   แดง    อากาศสูง หรือใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเองหากมีความจำเป็น หากมีอาการ
                                                         ทางสุขภาพควรปรึกษาแพทย์






















                                              รายงานสรุปสถานการณ์ไฟป่าและหมอกควัน ปี 2566 โดยใช้เทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ         8
                                              สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน): สทอภ.
   132   133   134   135   136   137   138   139   140   141   142