Page 141 - kpi23788
P. 141
เมื่อดำเนินการวิเคราะห์พื้นที่เผาไหม้แล้วจะนำมาบูรณาการร่วมกับข้อมูลขอบเขตพื้นที่
รับผิดชอบ ได้แก่ ขอบเขตพื้นที่ป่าอนุรักษ์ แนวเขต ส.ป.ก. 4-01 ขอบเขตป่าสงวนแห่งชาติ พื้นที่ริมทางหลวง
(50 เมตร) พื้นที่เกษตรกรรม ชุมชนและอื่นๆ ด้วยวิธีการซ้อนทับ (overlay) เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
สามารถนำไปวางแผนเพื่อการตัดสินใจ การบริหารจัดการเชื้อเพลิงในพื้นที่ และเพื่อควบคุมไม่ให้เกิดปริมาณ
ฝุ่นควันขนาดเล็กเกินค่ามาตรฐานจนเกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และลดผลกระทบที่อาจเกิดต่อสุขภาพของ
ประชาชน รวมไปถึงผลกระทบต่อการท่องเที่ยว เป็นต้น
1.5.4 การพัฒนาวิธีการประเมินพื้นที่เผาไหม้
การพัฒนาวิธีการประเมินร่องรอยของพื้นที่เผาไหม้ (Burn scars) ให้มีประสิทธิภาพมาก
ยิ่งขึ้นโดยใช้แพลตฟอร์มประมวลผลเชิงพื้นที่บน Google Earth Engine ผ่านชุดคำสั่งภาษาจาวาสคริปต์
(Java Script) ด้วยการใช้ศักยภาพของภาพถ่ายจากดาวเทียม Sentinel-2A, 2B ที่มีความละเอียดจุดภาพ
10-20 เมตร จะนำมาใช้เพื่อคำนวณค่าดัชนีได้แก่ ค่าดัชนีความแตกต่างของพืชพรรณ (Normalized
Difference Vegetation Index: NDVI) และค่าดัชนีการเผาไหม้ (Normalized Burn Ratio: NBR) โดย
พิจารณาจากค่าทางสถิติและค่าการแจกแจงความถี่ของดัชนีที่คำนวณได้ จากนั้นกำหนดช่วงค่าของดัชนีให้มี
ขนาดเท่ากับหนึ่งช่วงของส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation: SD) เพื่อใช้เป็นเงื่อนไขในการ
จำแนกพื้นที่เผาไหม้ และในการตรวจสอบความแม่นยำจะดำเนินการโดยกำหนดตำแหน่งแบบสุ่มเพื่อนำมา
ประเมินความสอดคล้องของผลลัพธ์ที่ได้จากการจำแนกด้วยค่าดัชนี กับข้อมูลอ้างอิงที่ได้จากวิธีการจำแนกเชิง
วัตถุ (Object-based analysis) พร้อมทั้งการตรวจสอบความถูกต้องด้วยการสำรวจภาคสนาม (Ground
check)
ภาพที่ 1.7 การประเมินพื้นที่เผาไหม้บนแพลตฟอร์ม Google Earth Engine
รายงานสรุปสถานการณ์ไฟป่าและหมอกควัน ปี 2566 โดยใช้เทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ 12
สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน): สทอภ.