Page 143 - kpi23788
P. 143
ในการตัดสินใจเพื่อลดปัญหาที่เกี่ยวข้องกับไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละอองในพื้นที่โดยการนำเทคโนโลยีจาก
ดาวเทียมมาประยุกต์ใช้
1.5.5 การคาดการณ์พื้นที่เสี่ยงไฟป่าโดยใช้แบบจำลอง
การคาดการณ์พื้นที่เสี่ยงไฟป่า (Wildfire risk prediction) โดยการใช้แบบจำลองทาง
คณิตศาสตร์ (Mathematic model) จากโปรแกรมระบบภูมิสารสนเทศสร้างแบบจำลองด้วย Model-
builder ซึ่งปัจจัยที่ใช้ในการวิเคราะห์ ประกอบด้วย 1) จุดความร้อน (Hotspot) สะสมรายวัน ย้อนหลัง 10 ปี
2) พื้นที่เผาไหม้ ย้อนหลัง 10 ปี 3) ดัชนีความแตกต่างของความชื้น (Normalized difference water index:
NDWI) รายสัปดาห์ในปีปัจจุบัน 4) ปริมาณเชื้อเพลิงจากการใช้ประโยชน์ที่ดิน เช่น ป่าผลัดใบ ป่าไม่ผลัดใบ
พื้นที่เกษตรกรรม แหล่งน้ำ ฯลฯ 5) ข้อมูลสภาพอากาศ ได้แก่ อุณหภูมิ ปริมาณน้ำฝน และความชื้นสัมพัทธ์
และ 6) จุดความร้อนและพื้นที่เผาไหม้ สัปดาห์ล่าสุด โดยมีขั้นตอนการดำเนินงานดังภาพที่ 1.9
ไฟป่า
ภาพที่ 1.9 ขั้นตอนการดำเนินงานการคาดการณ์พื้นที่เสี่ยงไฟป่าโดยใช้แบบจำลอง
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นที่เสี่ยงไฟป่า แสดงระดับพื้นที่เสี่ยงออกเป็น 3 ระดับ คือ 1) พื้นที่
เสี่ยงต่อการเกิดไฟป่าสูง 2) พื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดไฟป่าต่ำ และ 3) พื้นที่ไม่มีความเสี่ยงต่อการเกิดไฟป่า
จากนั้นนำไปจัดทำแผนที่คาดการณ์พื้นที่เสี่ยงเกิดไฟป่าเฉพาะในพื้นที่ 17 จังหวัด เพื่อใช้ในการวางแผน
กำหนดมาตรการในการเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์ไฟป่าหมอกควันในอนาคตต่อไป
รายงานสรุปสถานการณ์ไฟป่าและหมอกควัน ปี 2566 โดยใช้เทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ 14
สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน): สทอภ.