Page 146 - kpi23788
P. 146
บทที่ 2
สถานการณ์จุดความร้อนในประเทศไทย
การติดตามสถานการณ์จุดความร้อน (hotspot) ในประเทศไทยด้วยข้อมูลจากดาวเทียม Terra/Aqua
ระบบ MODIS และดาวเทียม Suomi NPP ระบบ VIIRS มีรายละเอียดดังนี้
2.1 การติดตามจุดความร้อนจากดาวเทียม Terra/Aqua ระบบ MODIS
การติดตามจุดความร้อนโดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียม Terra/Aqua ระบบ MODIS ที่มีรายละเอียดเชิง
พื้นที่ 1,000 เมตร บันทึกภาพครอบคลุมพื้นที่ประเทศไทย จำนวน 4 ช่วงเวลาต่อวัน ดังนี้
2.1.1 จุดความร้อนสะสมทั้งประเทศ
จุดความร้อนสะสมในประเทศไทย ปี 2566 ระหว่างวันที่ 1 มกราคม ถึง 31 พฤษภาคม 2566
จากดาวเทียม Terra/Aqua ระบบ MODIS พบจำนวนจุดความร้อนสะสมทั้งสิ้น 23,005 จุด ส่วนใหญ่เกิดจุด
ความร้อนสะสมมากสุดในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน (9,654 จุด) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (4,630 จุด) และ
ภาคเหนือตอนล่าง (4,385 จุด) ตามลำดับ ดังตารางที่ 2.1
ตารางที่ 2.1 จุดความร้อนสะสมในประเทศไทย ปี 2566 จำแนกตามรายภาค
ภาค จังหวัด จุดความร้อน
ภาคเหนือตอนบน เชียงราย น่าน เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง พะเยา แพร่ อุตรดิตถ์ และ 9,654
ลำพูน
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เลย ชัยภูมิ อุดรธานี นครราชสีมา สกลนคร ขอนแก่น หนองคาย 4,630
นครพนม อุบลราชธานี กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด บุรีรัมย์ หนองบัวลำภู บึงกาฬ
มุกดาหาร สุรินทร์ ยโสธร ศรีสะเกษ มหาสารคาม และอำนาจเจริญ
ภาคเหนือตอนล่าง ตาก เพชรบูรณ์ กำแพงเพชร พิษณุโลก นครสวรรค์ อุทัยธานี สุโขทัย และ 4,385
พิจิตร
ภาคตะวันตก กาญจนบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ นครปฐม และ 2,383
สมุทรสาคร
ภาคตะวันออก ปราจีนบุรี สระแก้ว นครนายก ชลบุรี ตราด ฉะเชิงเทรา ระยอง และ 1,040
จันทบุรี
ภาคกลาง ลพบุรี พระนครศรีอยุธยา สระบุรี ชัยนาท ปทุมธานี กรุงเทพมหานคร 756
อ่างทอง สิงห์บุรี สมุทรปราการ และนนทบุรี
ภาคใต้ สุราษฎร์ธานี ชุมพร กระบี่ ยะลา นครศรีธรรมราช สงขลา ตรัง พังงา 157
ปัตตานี ระนอง นราธิวาส ภูเก็ต พัทลุง และสตูล
รวมจำนวนจุดความร้อนสะสม 23,005
รายงานสรุปสถานการณ์ไฟป่าและหมอกควัน ปี 2566 โดยใช้เทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ 17
สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน): สทอภ.