Page 147 - kpi23788
P. 147

ทั้งนี้ การดำเนินงานเพื่อการบริหารจัดการไฟป่าและหมอกควันในระดับพื้นที่แบ่งความ

               รับผิดชอบการดูแลป้องกันไฟป่าตามภารกิจของหน่วยงาน ดังนั้น สทอภ. จึงดำเนินการวิเคราะห์จุดความร้อน
               สะสมจำแนกตามขอบเขตความรับผิดชอบ รายละเอียดดังนี้


                            1) พื้นที่ป่าอนุรักษ์ หมายถึง พื้นที่ตามกฏหมายเกี่ยวกับการป่าไม้ กำหนดให้เป็นพื้นที่อุทยาน
               แห่งชาติ หรือเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า


                            2) พื้นที่เขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม หรือพื้นที่เขต ส.ป.ก. หมายถึง พื้นที่ที่สำนักงานปฎิรูป
               ที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) ได้รับมอบพื้นที่จากกรมป่าไม้ และพื้นที่ที่รับมอบมานั้น ส.ป.ก. จะนำไปจัดสรร

               พื้นที่ให้กับเกษตรกร เพื่อใช้พื้นที่ในการทำกิน

                            3) พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ หมายถึง พื้นที่ตามกฏหมายเกี่ยวกับป่าไม้ กำหนดให้เป็นพื้นที่ป่า

               สงวนแห่งชาติ โดยไม่รวมถึงพื้นที่ที่ป่าสงวนแห่งชาติที่มอบให้สำนักงานปฎิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.)

               และเป็นพื้นที่ไม่อยู่ในพื้นที่ป่าอนุรักษ์

                            4) พื้นที่ริมทางหลวง 50 เมตร หมายถึง พื้นที่ที่เป็นเส้นทางคมนาคม รวมถึงพื้นที่ริมทางหลวง

               ในระยะ 50 เมตรจากสองข้างทาง ทั้งนี้ไม่รวมถึงพื้นที่ป่าอนุรักษ์ พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ และพื้นที่เขต ส.ป.ก.

                            5) พื้นที่เกษตร หมายถึง พื้นที่ที่มีการใช้ประโยชน์ที่ดินเป็นเกษตรกรรม ทั้งนี้ไม่รวมถึงพื้นที่ป่า

               อนุรักษ์ พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ พื้นที่เขต ส.ป.ก. และพื้นที่ริมทางหลวง 50 เมตร แต่อย่างใด

                            6) พื้นที่ชุมชนและพื้นที่อื่นๆ หมายถึง พื้นที่ที่มีการใช้ประโยชน์ที่ดินเป็นแหล่งที่อยู่อาศัย หรือ
               อื่นๆ ทั้งหมด ทั้งนี้ไม่รวมถึงพื้นที่ป่าอนุรักษ์ พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ พื้นที่เขต ส.ป.ก. และพื้นที่ริมทางหลวง 50

               เมตร และพื้นที่เกษตร แต่อย่างใด

                              จากนิยามข้างต้น จุดความร้อนสะสมพบมากสุดในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ (8,256 จุด) รองลงมา คือ
              ป่าสงวนแห่งชาติ (7,141 จุด) พื้นที่เกษตร (3,647 จุด) พื้นที่เขต ส.ป.ก. (2,056 จุด) พื้นที่ชุมชนและอื่น ๆ

              (1,685 จุด) และพื้นที่ริมทางหลวง (220 จุด) ตามลำดับ ดังตารางที่ 2.2 อย่างไรก็ตาม การดำเนินการวิเคราะห์
              จุดความร้อนสะสมจะดำเนินการจำแนกตามข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดิน (Existing land use) ด้วยข้อมูลของ
              กรมพัฒนาที่ดิน ปี 2558 และ 2559 ดังแสดงในตารางภาคผนวก ก-1























                                             รายงานสรุปสถานการณ์ไฟป่าและหมอกควัน ปี 2566 โดยใช้เทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ          18
                                             สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน): สทอภ.
   142   143   144   145   146   147   148   149   150   151   152