Page 142 - kpi23788
P. 142
ผลลัพธ์จากการประเมินด้วยสายตาร่วมกับการแสดงผลภาพแบบสีผสมเท็จ (False color
composite) พบว่าผลการจำแนกข้อมูลพื้นที่เผาไหม้ (สีแดง) ในภาพรวมมีความสอดคล้องกับพื้นที่เผาไหม้กับ
ข้อมูลอ้างอิง (สีฟ้า) และเมื่อนำมาตรวจสอบความถูกต้องด้วยตารางความคลาดเคลื่อน (Error matrix) พบว่า
มีค่าความถูกต้องโดยรวม (Overall accuracy) และสัมประสิทธิ์แคปปา (Kappa coefficient) เท่ากับร้อยละ
66 และ 33 ตามลำดับ อย่างไรก็ตามพบว่าขนาดจุดภาพของพื้นที่เผาไหม้ของข้อมูลอ้างอิงที่นำมาตรวจสอบ
นั้นจะมีขนาดของจุดภาพที่ใหญ่กว่า (Low resolution) เมื่อเปรียบเทียบกับข้อมูล Sentinel-2 ที่นำมาใช้
จำแนกพื้นที่เผาไหม้ ดังนั้นจึงเป็นสาเหตุให้ผลการประเมินความสอดคล้องของข้อมูลไม่สูง
ตารางที่ 1.4 การตรวจสอบความถูกต้องของการประเมินพื้นที่เผาไหม้
Non-burnt Burnt Row Total
Non-burned 107 64 171
Burned area 21 64 85
Column Total 128 128 256
Overall accuracy 66.8
Kappa coefficient 33.5
ภาพที่ 1.8 ตัวอย่างการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นที่เผาไหม้ (Burned area) บนแพลตฟอร์ม Google Earth Engine
จากกระบวนการดังกล่าวสามารถนำมาใช้เพื่อติดตามพื้นที่เผาไหม้ในป่าได้โดยอาศัยเทคโนโลยีจาก
ดาวเทียม และการประมวลผลข้อมูลเชิงพื้นที่บนคลาวด์ ซึ่งมีความสำคัญในการพัฒนาวิธีการประเมินพื้นที่เผา
ไหม้ ที่สามารถช่วยลดขั้นตอนการเตรียมข้อมูล (Pre-processing) ทำให้การวิเคราะห์ข้อมูลได้รวดเร็ว อีกทั้ง
ยังสามารถสืบค้นข้อมูลย้อนหลังภายในคลังข้อมูลได้หลายช่วงเวลา และจากการตรวจสอบพบว่าข้อมูลมีความ
ถูกต้องเพียงพอสำหรับการติดตามพื้นที่เผาไหม้ในพื้นที่ป่าและพื้นที่อื่นๆ ทำให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อต่อ
ยอด และพัฒนาให้เป็นระบบฐานข้อมูลขนาดใหญ่ ซึ่งจะทำให้เป็นการบูรณาการฐานข้อมูลอื่นๆ เพื่อนำมาใช้
รายงานสรุปสถานการณ์ไฟป่าและหมอกควัน ปี 2566 โดยใช้เทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ 13
สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน): สทอภ.