Page 130 - kpi23788
P. 130

บทที่ 1


                    การติดตามไฟป่าและหมอกควันโดยใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ




               1.1  บทนำ



                       สถานการณ์ไฟป่าและหมอกควันในประเทศไทยช่วงระหว่างเดือนมกราคมถึงพฤษภาคม ทำให้เกิด
               หมอกควันปกคลุม และคุณภาพอากาศโดยเฉพาะค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 และ PM10 อยู่ในเกณฑ์ที่มี

               ผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนและผลกระทบด้านเศรษฐกิจ-สังคม แม้ว่าหลายหน่วยงานจะมีการ
               ประสานความร่วมมือในการติดตามและเฝ้าระวังแล้ว แต่ไม่สามารถดำเนินการได้อย่างทั่วถึงเนื่องจากข้อจำกัด

               ในเรื่องของการเข้าถึงพื้นที่และบุคลากรที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ ดังนั้น เทคโนโลยีอวกาศ จึงเป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยี

               ที่นำมาใช้เป็นเครื่องมือในการติดตามจุดความร้อนและพื้นที่เผาไหม้อย่างต่อเนื่อง ครอบคลุมพื้นที่ประเทศไทย
               และประเทศเพื่อนตั้งแต่ปี 2558


                       กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สํานักงานพัฒนาเทคโนโลยี

               อวกาศและภูมิสารสนเทศ (สทอภ.) จึงได้ดำเนินการติดตามสถานการณ์ไฟป่าและหมอกควันใช้เทคโนโลยี

               อวกาศและภูมิสารสนเทศในการติดตามและบ่งชี้พื้นที่เกิดไฟป่าและหมอกควัน โดยการจัดทำข้อมูลจุดความ
               ร้อน (Hotspot) การจัดทำแผนที่ค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5 และ PM10) การจัดทำแผนที่หมอกควันและ

               ทิศทางลม (Smoke and Haze) การวิเคราะห์พื้นที่เผาไหม้ (Burned area) การประเมินพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิด
               ไฟป่า (Wildfire risk prediction) และรายงานสรุปในรูปแบบ Dashboard สำหรับการเผยแพร่ผ่านทางเว็บ

               แอพพลิเคชั่น เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจและวางแผนเชิงพื้นที่ในการบริหารจัดการทั้งก่อน ระหว่าง

               และหลังเกิดไฟป่าให้กับหน่วยงานที่รับผิดชอบทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
               มากยิ่งขึ้น



                1.2 วัตถุประสงค์


                     1.2.1 เพื่อติดตามสถานการณ์ไฟป่าและหมอกควันโดยใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ

                     1.2.2 เพื่อจัดทําข้อมูลและแผนที่แสดงจุดความร้อน แผนที่พื้นที่เผาไหม้ ค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก

               (PM2.5 และ PM10) แผนที่หมอกควันและทิศทางลม และแผนที่เสี่ยงไฟป่า

                     1.2.3 เพื่อเผยแพร่และสนับสนุนข้อมูลให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการบริหารจัดการพื้นที่ แบบ near

               real-time

                     1.2.4 เพื่อบูรณาการข้อมูลที่ได้จากเทคโนโลยีอวกาศร่วมกับข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ เพื่อยกระดับ

               การบริหารจัดการในสภาวะวิกฤต




                                              รายงานสรุปสถานการณ์ไฟป่าและหมอกควัน ปี 2566 โดยใช้เทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ         1
                                              สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน): สทอภ.
   125   126   127   128   129   130   131   132   133   134   135