Page 38 - 22813_Fulltext
P. 38
32
ประเทศออสเตรเลียไม่สบายใจในการสบตา แล้วจะแก้ไขอย่างไรหากไม่สบตา วิธีแก้ไข คือ อย่าไปมองตาชาวอะ
บอริจิน แต่จะท าตามที่เขาบอกโดยถามพวกเขาตรง ๆ ว่า จะให้ผู้พูดใช้วิธีการสื่อสารกับพวกเขาอย่างไร
2. ความเท่าเทียม (Equality)
ทุกคนเชื่อในความเท่าเทียมหรือไม่ ทุกคนได้รับการสั่งสอนมาให้คิดว่า เรารู้ดีกว่าลูกค้า เพราะว่าเราเป็น
หมอ ทนายความ ครู ที่ปรึกษา มีการยกตัวอย่างที่เป็นรูปธรรม ถึงผลเสียจากการไม่เชื่อเรื่องความเท่าเทียม เช่น
กรณีผ่าตัดไต คุณหมอวางมีดผ่าตัดเหนือท้องน้อยข้างซ้าย คนไข้บอกว่า คุณหมอเจน มันผิดข้าง คุณหมอแย้งว่า
คุณไม่ต้องพูดอะไรอีก อย่าล้ าเส้น ทั้ง ๆ ที่คนไข้พยายามจะแย้งว่า ไตข้างขวาที่มีปัญหาแล้วคุณหมอก็ตัดไตข้าง
ซ้าย ต่อมาคุณหมอก็ถูกฟ้องร้องและเพิกถอนใบอนุญาตเพราะหมอไม่เชื่อในความเท่าเทียม แต่คุณหมอท่านนั้น
เชื่อในอ านาจและความเป็นมืออาชีพของตนเอง อีกกรณีหนึ่ง คือ เครื่องบินชนกันที่เตเนริฟ (Tenerife) ในปี พ.ศ.
2520 (ค.ศ. 1977) เครื่องบินจัมโบ (Jumbo) 2 ล า ลงจอดในสนามบินอย่างเร่งด่วน จากสภาพอากาศที่ไม่ดี
ต่อมาเครื่องบินล าหนึ่งพยายามจะวิ่งข้ามรันเวย์ (Runway) แต่มองไม่ชัด มีหมอกลงและไม่เห็นว่า มีเครื่องบินอีก
ล าหนึ่งอยู่ปลายทาง นักบินเร่งเครื่องบิน แต่ทางลูกเรือผู้ช่วยส่งเสียงเตือน แต่นักบินไม่ฟัง สุดท้ายเครื่องบินชนกัน
มีคนเสียชีวิต 583 คน นอกจากประเด็นการเชื่อเรื่องความเท่าเทียมแล้ว ยังมีอีกประเด็น คือ ขอบเขต
(Boundaries) หมายความว่า ไม่ต้องคิดเหมือนกัน ไม่ต้องเอาใจประธานที่ประชุม แต่ทุกคนก็มีความเคารพใน
ความเห็นซึ่งกันและกัน
3. ความผ่อนคลาย (Ease)
การไม่รีบเร่ง การท าอาจจะหมายถึง ไม่ท าอะไร อยู่กับตัวเอง ท าจากข้างในอย่างช้า ๆ มีจุดเน้นโดยให้
สังเกตคนที่อยู่หน้าคุณทุกคนว่า เป็นคนส าคัญที่สุด โดยเน้นความสงบจากข้างใน ไม่รีบเร่ง ผ่อนคลาย ไคลน์ได้
ยกตัวอย่างที่น่าสนใจและตั้งค าถามว่า ถ้าเป็นนักดับเพลิงจะท ายังไง จะท างานช้าได้หรือ ค าตอบของไคลน์ ก็คือ
ถ้ามีสติก็ท าให้ท างานดีขึ้นได้ ไม่ว่าจะท าอาชีพใดก็ตาม
4. การชื่นชม (Appreciation)
การชื่นชมน าไปสู่ความสร้างสรรค์ เลือดไปเลี้ยงสมองดีและส่งผลดีต่อหัวใจเมื่อมีการชื่นชมและท าให้เกิด
การคิดที่ดี ในทางกลับกันเลือดจะไม่ไปเลี้ยงสมองหากเราวิพากษ์วิจารณ์คนอื่น ดังนั้น จึงควรใช้หลักการ 3s ใน
การชื่นชม คือ 1. การสรุป (Succinct) ถ้าใช้ค าพูดยาวคนจะไม่ค่อยจดจ า 2. ความจริงใจ (Sincere) มาจากใจ ไม่
เสแสร้งหรือโกหก 3. การเจาะจง (Specific) ไม่ชมกว้างเกินไปเพื่อให้คนฟังสามารถน าไปปฏิบัติได้
5. ความร่วมมือ (Encouragement)
ความร่วมมือตรงข้ามกับความคิดที่ว่า ฉันต้องฉลาดกว่า ประสบความส าเร็จกว่า ดีกว่าทุกอย่าง การมุ่ง
เอาชนะไม่ส่งผลดีส าหรับการคิดที่ดี ไคลน์ได้ยกตัวอย่างผู้บริหาร 2 แบบ คือ 1. แบบแข่งขัน 2. แบบร่วมมือ
ผู้บริหารแบบแรกเน้นการแข่งขันให้พนักงานค้นหาความคิดที่ดีที่สุดจากที่ท างาน ความคิดใครดีที่สุดจะได้ไป
รับประทานข้าวเย็นกับผู้บริหาร ผู้บริหารแบบที่สองเน้นความร่วมมือ ฟังด้วยความกรุณา ได้ฟังสิ่งที่คนอื่นคิด ไม่
เน้นฆ่าความคิดของคนอื่นแล้วบอกว่า ความคิดเราดีกว่า
6. ข้อมูล (Information)
ในที่นี้ หมายถึง การให้ข้อมูล การให้ข้อเท็จจริง การรื้อถอนการปฏิเสธ (Dismantling Denial) ข้อมูล
เป็นเรื่องของข้อเท็จจริง เช่น รถไฟมาถึงเวลากี่โมง นอกจากนี้ ข้อมูลยังรวมถึงการรื้อถอนการปฏิเสธ การปฏิเสธ
ไม่ว่าจะต่อตัวบุคคลหรือองค์กรเป็นสิ่งที่ไม่ดีทั้งสิ้น การรื้อถอนการปฏิเสธยังเป็นการรื้อถอนความเชื่อที่ผิด ๆ โดย