Page 34 - 22813_Fulltext
P. 34
28
จุดยืน ความต้องการ ความกลัวของคู่ขัดแย้ง พฤติกรรม และความสัมพันธ์ต่อกัน โดยวิเคราะห์ผ่าน เครื่องมือต่างๆ
ที่ใช้ในการวิเคราะห์ความขัดแย้ง มีเครื่องมือวิเคราะห์ความขัดแย้ง 9 ชิ้น ประกอบด้วยเครื่องมือ 1.ระยะของความ
ขัดแย้ง (รู้ระดับของความขัดแย้ง) 2.เส้นเวลา (รู้เหตุการณ์ในอดีตที่เกิดขึ้น) 3.แผนที่ความขัดแย้ง (รู้ตัวแสดงและ
ความสัมพันธ์) 4.สามเหลี่ยม ABC (รู้ทัศนคติ พฤติกรรมและบริบท) 5.หัวหอม (รู้จุดยืน จุดสนใจและความจ าเป็น)
6.ต้นไม้ความขัดแย้ง (รู้ประเด็นปัญหา รากเหง้าและผลกระทบ) 7.การวิเคราะห์กลุ่มพลัง (รู้กลุ่มพลังที่สนับสนุน
หรือขัดขวาง) 8.ปัจจัยฐานราก (รู้ปัจจัยด้านลบและวิธีลดผลกระทบ) 9.พีรามิด (รู้ตัวแสดงที่มีบทบาทส าคัญ)
เครื่องมือเหล่านี้ประยุกต์จากประสบการณ์และข้อมูลในแหล่งต่างๆ จากบริบทที่แตกต่างทางสังคมและการเมือง
ไม่ได้เป็นเครื่องมือตายตัว แต่ยืดหยุ่นเพื่อเข้าใจบริบทที่ซับซ้อนเพื่อสามารถวางแผนได้อย่างมีประสิทธิภาพและ
ระบุความขัดแย้งที่ต้องเน้นหรือให้ความส าคัญ การใช้เครื่องมือเหล่านี้ควรผสมผสานกันไม่ควรใช้เพียงเครื่องมือ
เดียว เช่น วิเคราะห์ด้วยเครื่องมือระยะของความขัดแย้ง สามเหลี่ยม ABC และพีรามิดเพื่อส ารวจมุมมองที่
หลากหลายและปัจจัยที่หลากหลาย
ภาพที่ 2 กระเป๋าเครื่องมือวิเคราะห์ความขัดแย้ง