Page 32 - 22813_Fulltext
P. 32

26




               หัวข้อหลักที่ 3.การวิเคราะห์ความขัดแย้งและบริบท/สภาพแลดล้อมที่เอื้อหรือไม่เอื้อต่อสันติวัฒนธรรมใน
               สถานศึกษา

                        การวิเคราะห์ความขัดแย้งและบริบท/สภาพแลดล้อมที่เอื้อหรือไม่เอื้อต่อสันติวัฒนธรรมในสถานศึกษา
               จะเกี่ยวข้องกับ สร้างสิ่งแวดล้อมในการเรียนรู้ที่สร้างสรรค์ในโรงเรียน และชั้นเรียน รวมถึงในชุมชน   หากกล่าวถึง
               เป้าหมายในการศึกษาเรื่องการแก้ปัญหาความขัดแย้งในสถานศึกษา มีนักวิชาการและองค์กรต่าง ๆ ได้อธิบายไว้
               หลายประการ  ความขัดแย้งและความรุนแรงในสถานศึกษาท าให้เกิดปัญหากับนักเรียน ผู้สอน ผู้บริหาร ท าลาย

               บรรยากาศ พื้นที่ที่ปลอดภัยในสถาบัน การเสริมพลังให้กับบุคคลดังกล่าวและการสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
               จึงมีความจ าเป็น (Adigüzel, 2014) ทรีเซีย เอสโจนส์ และแดเนียล มิตตา (Trica S. Jones และ Daniel Kmitta)
               ได้พูดถึงเป้าหมายของการศึกษาเรื่องการแก้ปัญหาความขัดแย้งว่า ประกอบด้วยเป้าหมาย 5 ข้อ คือ (วันชัย วัฒน
               ศัพท์, 2550)

                       1. เพื่อที่จะสร้างสิ่งแวดล้อมของการเรียนรู้ที่ปลอดภัยในโรงเรียนโดยการ

                        ก.ลดเหตุการณ์ทีจะก่อให้เกิดความรุนแรงในโรงเรียน
                        ข. ลดพฤติกรรมการต่อต้านสังคม และการก้าวร้าวซึ่งส่วนมากจะน ามาสู่ความรุนแรง
                        ค. ลดการเป็นปรปักษ์ต่อกันด้วยการพูดและการกระท าในกลุ่ม โดยเฉพาะอย่างยิ่งความขัดแย้งระหว่าง
               กลุ่มที่เกี่ยวข้องกับความแตกแยกของเชื้อชาติ ศาสนา ขนบธรรมเนียมประเพณีและชนกลุ่มน้อย

                          ง. ลดอัตราการหยุดเรียน การพักการเรียน การออกกลางคันเนื่องจากสิ่งแวดล้อมไม่ปลอดภัยใน
               โรงเรียน
                        2. เพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมในการเรียนรู้ที่สร้างสรรค์ในโรงเรียน

                          ก. ปรับปรุงบรรยากาศของโรงเรียนให้ดีขึ้น
                          ข. ปรับปรุงความสัมพันธ์ระหว่างครูผู้บริหารและนักเรียนในโรงเรียน

                          ค. เพิ่มคุณค่าของความคิดเห็น หรือมุมมองที่ต่างกัน และฝึกความอดทน
                          ง. ส่งเสริมบรรยากาศแห่งการเกื้อกูลและให้ความเคารพซึ่งกันและกัน
                          จ. ลดพฤติกรรมการลงโทษและการแสดงอ านาจในระหว่างเด็ก เยาวชนและผู้ใหญ่

                        3. เพื่อปรับปรุงการบริหารชั้นเรียน
                          ก. ลดเวลาของครูในการใช้กับปัญหาของระเบียบวินัยในชั้นเรียน

                          ข. เพิ่มการใช้ระเบียบวินัยและการแก้ปัญหาความขัดแย้งโดยการใช้นักเรียนเป็นศูนย์กลาง

                        4. เพื่อให้นักเรียนมีการพัฒนาทางด้านสังคมและอารมณ์ดีขึ้น

                          ก. พัฒนาศักยภาพของทักษะในการแก้ปัญหาความขัดแย้งในเชิงรุก
                          ข. พัฒนาศักยภาพในการหามุมมองได้มากขึ้น
                          ค. พัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาความขัดแย้ง

                          ง. เพิ่มความสามารถในการให้ความส าคัญกับผู้อื่น
                          จ. รู้จักและสามารถจัดการกับอารมณ์ตน
   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37