Page 230 - kpi22350
P. 230
กรณีนี้ศาลปกครองได้พิจารณา คือ ประเด็นที่ 1 นาง ก. ได้ยอมรับว่ามีเหตุท้าต่อยกับ
นาย ข. จริง แม้ว่าจะเป็นการกระทำภายหลังเลิกประชุม เป็นการกระทำนอกห้องประชุมและเป็นเรื่อง
ส่วนตัวไม่ได้มีเจตนา แต่ทำไปเพราะโมโห แต่ศาลปกครองพิจารณาว่า สถานะของการเป็นสมาชิก อบต.
ไม่ได้มีอยู่เฉพาะช่วงเวลาการประชุมสภาเท่านั้น หากแต่มีอยู่ตลอดเวลา จึงถือเป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสม รายงานสถานการณ์
ส่วนประเด็นที่ 2 การนำบุคคลภายนอกเข้าไปในที่ประชุม ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วย
ข้อบังคับการประชุมสภาท้องถิ่น พ.ศ.2547 ข้อ 117 กำหนดห้ามบุคคลภายนอกเข้าไปในที่ซึ่งจัดไว้สำหรับ
สมาชิกสภาท้องถิ่นในขณะที่กำลังประชุม โดยประธานสภามีอำนาจอนุญาตให้ประชาชนเข้าฟังการประชุม
สภาได้ตามระเบียบสภาท้องถิ่น ซึ่งประเด็นนี้ระเบียบกำหนดไว้ชัดว่า ไม่ได้ให้อำนาจบุคคลภายนอกเข้าไป
เพื่อบันทึกภาพและเสียง การนำบุคคลภายนอกเข้าไปในที่ประชุมสภาท้องถิ่นดังกล่าว จึงเป็นการคุกคาม
สิทธิหรือกดดันการทำหน้าที่ของสมาชิกสภาท้องถิ่น หากจะให้มีการบันทึกรายงานการประชุมก็ควรให้
เลขานุการสภาท้องถิ่นเป็นผู้ดำเนินการ ดังนั้นกรณีนี้จึงเป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสมที่อาจนำมาซึ่ง
ความเสียหายหรือก่อความไม่สงบเรียบร้อยแก่ อบต. ศาลปกครองจึงพิจารณาว่า มติที่ให้นาง ก. พ้นจาก
ตำแหน่งจึงชอบด้วยกฎหมาย ศาลปกครองจึงพิพากษายกฟ้องคดีนี้ (อ้างอิง คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด
ที่ อ. 865/2561)
® การออกคำสั่งให้รองนายก อบต. พ้นจากตำแหน่ง ต้องให้โอกาสโต้แย้งก่อนหรือไม่? 30
คดีนี้เกิดขึ้นเมื่อนายกองค์การบริหารส่วนตำบลแห่งหนึ่งมีคำสั่งให้รองนายกองค์การบริหาร
ส่วนตำบลพ้นจากตำแหน่ง เนื่องจากรองนายก อบต. ไม่เชื่อฟังคำสั่ง และไม่ปฏิบัติตามนโยบายการบริหารงาน
ของตน ทำให้เกิดความขัดแย้งในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบล ด้วยเหตุนี้รองนายก อบต. ส่วนที่ 2 สถิติและข้อมูลสถานการณ์การกระจายอำนาจและการปกครองส่วนท้องถิ่นไทย
จึงยื่นอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว แต่นายก อบต. ยังคงยืนยันตามคำสั่งเดิม
รองนายก อบต. เห็นว่า คำสั่งให้พ้นจากตำแหน่งดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะตน
ได้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยดีมาตลอด ส่วนเหตุที่ตนไม่ปฏิบัติตามนโยบายของนายก อบต. เพราะไม่เป็นไปตาม
กฎหมายและไม่เป็นไปตามแผนพัฒนา 3 ปีของอบต. อีกทั้งนายก อบต.ไม่เคยให้โอกาสตนในการชี้แจงหรือ
ตกเตือนก่อนออกคำสั่ง ดังนั้นรองนายก อบต. จึงนำคดีนี้มาฟ้องต่อศาลปกครองเพื่อให้ศาลปกครอง
เพิกถอนคำสั่งนายก อบต.
ตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 มาตรา 30 วรรคหนึ่ง
ระบุว่า หากคำสั่งทางปกครองอาจกระทบถึงสิทธิของคู่กรณี เจ้าหน้าที่ต้องให้คู่กรณีมีโอกาสที่จะได้ทราบ
ข้อเท็จจริงอย่างเพียงพอและมีโอกาสได้โต้แย้งและแสดง พยานหลักฐานของตน ส่วนวรรคสอง ได้กำหนด
ข้อยกเว้นที่ไม่ให้นำหลักการดังกล่าวมาใช้บังคับกรณีอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ซึ่งตามกฎกระทรวง
ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2540 ได้กำหนดให้การบรรจุ การแต่งตั้ง การเลื่อนขั้นเงินเดือน การสั่งพักงาน หรือการให้
พ้นจากตำแหน่ง เป็นคำสั่งทางปกครองที่ได้รับยกเว้นไม่จำเป็นต้องให้โอกาส นอกจากนี้การปฏิบัติงานของ
ผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบล ได้กำหนดให้นายก อบต. สามารถแต่งตั้งรองนายก อบต. ได้ไม่เกิน 2 คน
30 สำนักงานศาลปกครอง. (13 มกราคม 2564). “สั่งให้พ้นจากตำแหน่งรองนายก อบต. ต้องให้โอกาสโต้แย้งก่อน
หรือไม่?”, อุทาหรณ์จากคดีปกครอง. สืบค้นจาก www.admincourt.go.th/admincourt/site/09illustration_list-11.html
เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2564.
สถาบันพระปกเกล้า 219