Page 76 - kpi22237
P. 76

70


               ขั้นต้นเพื่อคัดเลือกผู้สมัครรับเลือกตั้งในเขตเลือกตั้ง กลายเป็นภาระของพรรคการเมืองขนาดเล็กท าให้การท างาน

               การเมืองล าบาก เมื่อถามว่าหากน ามาใช้อย่างเต็มรูปแบบแล้วในทางปฏิบัติจะท าให้เกิดปัญหาหรือไม่ ตัวแทนภาค
               ประชาสังคมต่างมองเห็นตรงกันว่าจะท าให้เกิดปัญหาอย่างแน่นอน

                       ตัวแทนภาคประชาสังคมรายหนึ่งมองว่าจะมีเพียงไม่กี่พรรคการเมืองที่จะสามารถส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งได้

               ทุกเขตเลือกตั้ง เพราะศักยภาพของพรรคการเมืองที่จะสามารถจัดตั้งสาขาพรรค การหาสมาชิกพรรค และ
               ทรัพยากรที่เพียงพอที่จะท าได้นั้นมีอยู่ไม่กี่พรรค กระบวนการเลือกตั้งขั้นต้นตามกฎหมายพรรคการเมืองฉบับ

               ปัจจุบันนั้นไม่ส่งเสริมให้พรรคขนาดเล็กเติบโตได้ ท าให้พรรคเล็กไม่สามารถส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งได้ ขณะที่ตัวแทน
               ภาคประชาสังคมอีกรายหนึ่งมองว่า ปัญหาในทางปฏิบัตินั้นจะเกิดขึ้นแน่นอนเมื่อมีการน ากระบวนการเลือกตั้ง

               ขั้นต้นมาใช้อย่างเต็มรูปแบบ ด้วยระบบเลือกตั้งที่มีความซับซ้อน และมีความไม่ชอบมาพากล หากยังคงเป็นกติกา
               เดิมอยู่ ไม่มีการแก้ไข อย่างไรก็มีปัญหา ในเชิงเทคนิคนั้นกระบวนการเลือกตั้งขั้นต้นมีเงื่อนไขมาก พรรคการเมือง
               ขนาดเล็กที่ต้องจัดท าการเลือกตั้งขั้นต้นนั้นก็เพื่อท าให้ “ผ่านๆ ไป” ไม่ให้ถูกลงโทษตามกฎหมาย ฉะนั้น

               กระบวนการลักษณะนี้จึงไม่เกิดคุณค่าในตัวเอง ในส่วนของภาคประชาสังคมนั้น ก็มีความเห็นว่ากระบวนการ
               เลือกตั้งขั้นต้นนั้นสามารถท าได้ ทั้งการก าหนดรายละเอียดอย่างชัดเจนตามกฎหมายพรรคการเมือง เพราะหากมี

               การเขียนไว้กว้างๆ จะเกิดปัญหาในการตีความ ควรต้องเขียนให้ชัดเจน มีการรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้เสีย
               ทุกฝ่ายได้มีโอกาสถกเถียงกัน แต่อีกฝ่ายหนึ่งมองว่า การก าหนดรายละเอียดตายตัวตามกฎหมายปัจจุบันนั้น

               ยุ่งยาก ควรเป็นไปในลักษณะที่ว่าเขียนไว้กว้างๆ แล้วให้พรรคการเมืองด าเนินการจัดการเลือกตั้งขั้นต้นของตนเอง
               จะเหมาะสมกว่า

               4.5 ปัญหาและอุปสรรคของกระบวนการสรรหาผู้ลงสมัครรับเลือกตั้ง

                       ในการวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคของกระบวนการสรรหาผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งภายใต้พระราชบัญญัติ
               ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 ได้ใช้กรอบการวิเคราะห์งานวิจัย (conceptual

               framework) ในการพิจารณากระบวนการดังกล่าวด้วยแนวการศึกษาแบบสถาบัน (institutional approach)
               ในเรื่องตัวผู้สมัครเข้ารับการสรรหา (candidacy) บุคคลที่พรรคให้ด าเนินการสรรหา (party selectorates)

               การกระจายอ านาจในการสรรหา (decentralization) ระบบการเลือกหรือสรรหา (voting/appointment
               system) จนสามารถจ าแนกออกมาเป็น 6 ประเด็นปัญหาส าคัญดังต่อไปนี้




                       4.5.1 ปัญหาตัวผู้สมัครเข้ารับการสรรหา (candidacy) ในการตีความกฎหมายและอุปสรรคจากการ
               น ากฎหมายไปปฏิบัติโดยพรรคการเมือง

                       แม้ว่าการเลือกตั้งขั้นต้นในฐานะกระบวนการหนึ่งในการสรรหาผู้สมัครลงแข่งขันรับเลือกตั้งจะเป็น
               ประเด็นที่มีการถกเถียงมาอย่างต่อเนื่องในวงการวิชาการทางด้านรัฐศาสตร์และกฎหมายมหาชน แต่ส าหรับ

               ประเทศไทยประเด็นดังกล่าวถือว่า “ใหม่” มากในการน ามาใช้ เนื่องจากประเทศไทยใช้ระบบรัฐสภาและมีการ
               จัดเลือกตั้งเป็น “วันเลือกตั้ง” (election day) ท าให้กระบวนการก่อนจะมาถึงการเลือกตั้งชัดเจนเพียงวันเลือกตั้ง
   71   72   73   74   75   76   77   78   79   80   81