Page 77 - kpi22237
P. 77

71


               เท่านั้น แตกต่างจากประเทศสหรัฐอเมริกาที่เป็นต้นทางของแนวคิดการเลือกตั้งขั้นต้นได้มีการเลือกตั้งแบบ

               “ปีเลือกตั้ง” (election year) ที่มีกระบวนการหลายขั้นตอนและมีความชัดเจนในการก าหนดช่วงเวลา
               ในการเลือกตั้ง แม้ว่าแต่ละมลรัฐจะมีหลักกฎหมายและวิธีการที่แตกต่างกัน

                       ด้วยความใหม่และยังไม่มีแบบแผนที่เป็นต้นแบบในการปฏิบัตินี้เอง จึงน ามาสู่ความสับสนในการปฏิบัติ

               ของพรรคการเมือง นักการเมือง จนไปถึงประชาชนทั่วไปว่าจะต้องเข้ามามีส่วนร่วมกับการเลือกตั้งขั้นต้นมากหรือ
               น้อยแค่ไหน โดยการส ารวจของสวนดุสิตโพล ได้ท าการส ารวจว่าประชาชนคิดอย่างไรกับการเลือกตั้งขั้นต้น พบว่า

               ร้อยละ 40.30 ยังไม่เข้าใจกระบวนการขั้นตอน และร้อยละ 34.29 ไม่เข้าใจเลย ส่วนผู้ที่เข้าใจมีอัตราส่วนเพียงร้อย
               ละ 25.41 เท่านั้น (คณะกรรมาธิการกิจการองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ วุฒิสภา 2563, 102)


                       ประกอบกับข้อมูลจากการสัมภาษณ์ตัวแสดงอย่างนักการเมืองพรรคหนึ่ง พบว่าการน าแนวทางการ
               เลือกตั้งขั้นต้นมาใช้ครั้งแรก ท าให้ไม่มีแบบแผนในการปฏิบัติที่ชัดเจน และการถูกตรวจสอบอย่างเข้มข้นด้วย

               คณะกรรมการการเลือกตั้ง ท าให้การด าเนินการของพรรคการเมืองในการสรรหาผู้สมัครมีแนวทางที่ไม่ชัดเจน และ
               ความเข้าใจไม่ตรงกัน จึงไม่มีพรรคใดกล้าที่จะใช้กระบวนการดังกล่าวอย่างกว้างขวางอย่างจริงจัง (นักการเมือง,
               สัมภาษณ์วันที่ 22 เมษายน 2564)


                       จากปัญหาเรื่องการขาดแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจนและการตรวจสอบอย่างเข้มข้นในการเลือกตั้ง ท าให้พรรค
               การเมืองเกิดข้อกังวลในการน าการเลือกตั้งขั้นต้นมาใช้ปฏิบัติจริง จนถึงขนาดแกนน าพรรคชาติไทยพัฒนาอย่าง

               นิกร จ านง ได้มีข้อเสนอให้รัฐบาลในช่วงเวลาดังกล่าวใช้ มาตรา 44 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
               (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 เพื่องดเว้นการด าเนินการเลือกตั้งขั้นต้นไปก่อน (Nation 2561) ย่อมสะท้อนให้

               เห็นว่าพรรคการเมืองไทยยังมีข้อจ ากัดในการปรับตัวให้เข้ากับกฎกติกาใหม่



                       4.5.2 ปัญหาผู้สมัครเข้ารับการสรรหา (candidacy) ในด้านการวางนโยบายที่เป็นแบบแผนเดียวกัน

               กับมุมมองของผู้สมัครรับเลือกตั้ง
                       อันเนื่องมาจากการเลือกตั้งในเดือนมีนาคม 2562 และผลการเลือกตั้งตามตารางที่ 4.1 จะพบว่า 2 พรรค

               การเมืองใน 5 ล าดับแรกเป็นพรรคการเมืองใหม่อย่างพรรคพลังประชารัฐและพรรคอนาคตใหม่ และด้วยความเป็น
               พรรคการเมืองใหม่นี่เองท าให้กระบวนการสรรหาผู้สมัครรับเลือกตั้งด้วยการจัดเลือกตั้งขั้นต้นเกิดข้อจ ากัดในด้าน

               ของนโยบายที่เป็นแบบแผนเดียวกันกับมุมมองของผู้สมัครรับเลือกตั้งที่อาจไม่ได้สอดคล้องกัน
   72   73   74   75   76   77   78   79   80   81   82