Page 73 - kpi22237
P. 73
67
มาไม่ถึง 1 ปี ซึ่งตรงนี้ก็เป็นเรื่องที่พรรคต้องเตรียมตัวต่อไปหากน าการเลือกตั้งขั้นต้นมาใช้จริงในการเลือกตั้ง
ครั้งต่อไปให้หาสมาชิกพรรคในเขตเลือกตั้งให้ครบตามกฎหมายแต่เนิ่นๆ
นอกจากนี้ งานวิจัยนี้ ทางผู้วิจัยยังได้มีโอกาสสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักการเมืองท้องถิ่นหรือ
เครือข่ายทางการเมืองในพื้นที่ ก็ได้สะท้อนข้อเท็จจริงในการเมืองไทยเรื่อง “การจัดตั้ง” ที่เป็นการยืนยันข้อค้นพบ
จากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักการเมืองจากพรรคการเมืองต่างๆ นักการเมืองท้องถิ่นรายหนึ่งได้สะท้อน
จากประสบการณ์ทางการเมืองในพื้นที่มาเป็นระยะเวลานานว่า ไม่ว่าจะเป็นการสรรหาอย่างไร สุดท้ายการเมืองก็
เป็นเรื่องของการ “จัดตั้ง” เพื่อให้ได้ขึ้นมา การจัดการเลือกตั้งขั้นต้นนั้นมีการ “แต่งตัว” ของผู้สมัครรอไว้แล้ว
ขึ้นอยู่กับว่าใคร “แต่งตัว” ได้พร้อมมากกว่า มีการไปหาสมาชิกพรรคได้มากกว่า และนักการเมืองท้องถิ่นอีกคน
หนึ่งก็ได้ยืนยันเช่นเดียวกันว่าในพื้นที่เคยมีพรรคการเมืองที่จัดการเลือกตั้งขั้นต้น ซึ่งเมื่อปรากฏว่าจะถึงวันเลือกตั้ง
นั้นก็ได้มีการซื้อซิมการ์ดแจกจ่ายให้แก่สมาชิกพรรคไว้เพื่อลงคะแนนให้กับผู้เสนอตัวลงสมัครเป็นตัวแทนสมัคร
รับเลือกตั้งในนามพรรคการเมืองนั้นเช่นกัน
4.4.2 นักวิชาการ
จากการสัมภาษณ์นักวิชาการผู้ศึกษาเรื่องการเลือกตั้งและการเมืองไทย จ านวน 11 คน จากกลุ่มตัวอย่าง
ในภาคใต้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ นับตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนพฤษภาคม 2564 ผ่านระบบ
ออนไลน์ พบว่า มีความเห็นว่าโดยหลักการ การคัดเลือกผู้สมัครรับเลือกตั้งโดยวิธีการเลือกตั้งขั้นต้นนั้น เป็นวิธีการ
ที่ดี แต่กระบวนการในการด าเนินการเพื่อท าการเลือกตั้งขั้นต้นนั้นอาจมีปัญหาในหลายๆ เรื่อง เช่น ค่าใช้จ่าย,
การจัดตั้งสาขาพรรค, การตั้งตัวแทนพรรคการเมืองประจ าจังหวัด. และการหาสมาชิกพรรคในแต่ละเขตเลือกตั้งให้
เพียงพอ มีนักวิชาการท่านหนึ่งได้ตั้งข้อสังเกตว่ากระบวนการเลือกตั้งขั้นต้นนั้นอาจจะน าไปสู่การ “บล็อกโหวต”
หรือการฮั้วกันตั้งแต่ในระดับเขตเลือกตั้งในพรรคการเมือง ไม่ใช่เพียงแต่การซื้อเสียงในฤดูกาลเลือกตั้งแต่เพียง
อย่างเดียว โดยอธิบายจากประสบการณ์ของพรรคการเมืองพรรคหนึ่งในพื้นที่นั้นได้เริ่มมีการจัดการเลือกตั้งขั้นต้น
ก็เกิดปัญหามีการร้องเรียนจากผู้สมัครว่าไม่โปร่งใส มีการบล็อก มีการขนคนมาเพื่อลงคะแนนให้ตนเองได้รับเลือก
ให้เป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งในนามพรรคการเมืองนั้น น าไปสู่ความคลางแคลงใจในกระบวนการ หลายพรรคการเมือง
มองว่าการเลือกตั้งขั้นต้นเป็นภาระทั้งด้านค่าใช้จ่ายและกระบวนการด าเนินงาน และมีนักวิชาการอีกท่านหนึ่ง
มองว่าาการเลือกตั้งขั้นต้นเป็นแต่เพียง “พิธีกรรม” ที่มีการใช้เงินจ านวนมาก ในเขตพื้นที่มีการเกณฑ์คนของ
ตนเองไปเข้าร่วมการประชุมคัดเลือก ซึ่งเป็นสิ่งที่รู้กันทั้งนักการเมืองและหัวคะแนนในพื้นที่
อย่างไรก็ตาม มีความเห็นที่แตกต่างกันอยู่บ้างหากน ากระบวนการเลือกตั้งขั้นต้นมาใช้อย่างเต็มรูปแบบ
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งต่อไป นักวิชาการส่วนหนึ่งมองว่า จะท าให้เกิดปัญหาในทางปฏิบัติ
อย่างแน่นอน การเลือกตั้งขั้นต้นควรมีการยืดหยุ่นมากกว่านี้ แต่อีกส่วนหนึ่งก็มองว่าไม่น่าจะเป็นปัญหาในทาง
ปฏิบัติหากน ามาใช้อย่างเต็มรูปแบบ เพราะในขณะนี้นักการเมืองผู้ที่เตรียมจะลงสนามแข่งขันในการเลือกตั้งนั้นมี
การเตรียมตัวไว้พร้อมแล้ว และมองว่าปัญหาในการเลือกตั้งครั้งต่อไปนั้นไม่ใช่เรื่องกระบวนการจัดการเลือกตั้ง
ขั้นต้น แต่มีเรื่องอื่นๆ ที่เป็นปัญหามากกว่า เช่น เงินที่ใช้ในการเลือกตั้ง การกระท าผิดกฎหมายต่างๆ การจัดตั้ง