Page 15 - kpi22237
P. 15
10
การเมืองในอดีตเป็นเรื่องของชนชั้นน าภายในพรรคที่ใช้ระบบพวกพ้อง (nepotism) ในการคัดเลือกตัวแทน
เข้าลงสมัครแข่งขันรับเลือกตั้ง มากกว่าที่จะให้สมาชิกพรรคการเมืองเข้ามามีส่วนร่วมในการน าเสนอผู้แทน
สอดรับกับนักรัฐศาสตร์อเมริกันผู้เชี่ยวชาญเรื่องพรรคการเมืองอย่าง Austin Ranney (1981) ที่มอง
ว่าระบบการสรรหาผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นกระบวนการ “นอกเหนือจากกฎหมายก าหนด” (extralegal
process) ที่พรรคการเมืองจะตัดสินใจเลือกบุคคลสักคนหนึ่งเข้าไปลงสมัครแข่งขันรับเลือกตั้งตามกฎหมาย
ที่ยึดจากปัจจัยที่ไม่ได้อยู่ในกฎหมาย เช่น ความน่าจะเป็นในการชนะเลือกตั้ง ความสามารถในการสื่อสารทาง
การเมืองเพื่อให้ได้คะแนนเสียงสูงสุด เป็นต้น
อย่างไรก็ดี หากพิจารณาระบบการสรรหาผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งในฐานะกลุ่มก้อนทางทฤษฎีรัฐศาสตร์
สามารถจ าแนกส านักที่ศึกษาได้เป็น 2 กลุ่มหลัก ดังนี้
ตารางที่ 2.1 เปรียบเทียบระบบการสรรหาผู้ลงสมัครรับเลือกตั้ง
ระหว่างแนวการศึกษาแบบหน้าที่กับแนวการศึกษาแบบสถาบัน
ประเด็นเปรียบเทียบ แนวการศึกษาแบบหน้าที่ แนวการศึกษาแบบสถาบัน
(functionalist approach) (institutional approach)
ตัวแปรต้น ปัจจัยทางสังคมและวัฒนธรรม ปัจจัยเชิงสถาบันการเมือง
มุมมองต่อระบบการ การคัดเลือกทางการเมือง การคัดสรรผู้เป็นตัวแทน
สรรหาผู้ลงสมัครรับ (political recruitment) (candidate selection)
เลือกตั้ง
วิธีการศึกษา การจัดท าฐานข้อมูลประชากร การวิเคราะห์สถาบัน
(demographic mapping) (institutional analysis)
ตัวอย่างงานศึกษา Wright (1971) Gallagher and Marsh (1988)
ส าคัญ Czudnowski (1975) Rahat and Hazan (2001)
(ที่มา: : ผู้เขียน)
กลุ่มแรก แนวการศึกษาแบบหน้าที่ (functionalist approach) เป็นกลุ่มส านักทางรัฐศาสตร์
หลังสงครามโลกครั้งที่สองที่พยายามน าการศึกษาแบบสังคมวิทยาที่มองความสลับซับซ้อนระบบสังคมและ
วัฒนธรรมเข้ามาเป็นตัวแปรต้นในการศึกษาปรากฏการณ์ทางการเมือง โดยจะมองระบบการสรรหาผู้ลงสมัคร
รับเลือกตั้งว่าเป็น “การคัดเลือกทางการเมือง” (political recruitment) ที่มาจากกลุ่มทางสังคมที่ผ่านการ
ขัดเกลา (socialization) ให้เข้ามาท างานในระบบการเมือง (Almond 1960; Czudnowski 1975)
การคัดเลือกทางการเมือง จึงหมายถึงกระบวนการของปัจเจกบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ถูกแนะน าให้
เข้ามารับบทบาทในการขับเคลื่อนทางการเมือง (Czudnowski 1975, 155) โดยบุคคลใดจะสามารถเข้ามา
เป็นผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งจะต้องมีคุณลักษณะทางสังคมที่ถูกขัดเกลามาโดยเฉพาะ เช่น มีการศึกษาดี
เป็นชาวผิวขาว เป็นชนชั้นกลางที่ได้รับการยอมรับ เป็นต้น ด้วยเหตุนี้การศึกษาจึงใช้วิธีการวิจัยแบบส ารวจ