Page 10 - kpi22237
P. 10
5
ในเขตเลือกตั้งของสาขาพรรคการเมืองหรือตัวแทนพรรคการเมือง ประจ าจังหวัด
ที่มีเขตเลือกตั้งใกล้เคียงตามที่ก าหนดในข้อบังคับ” (พระราชบัญญัติประกอบ
รัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง 2560) (เน้นโดยผู้เขียน)
อย่างไรก็ดี ภายใต้ความเข้มข้นและสลับซับซ้อนของวิธีการสรรหาผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งของ
รัฐธรรมนูญและพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง กลับท าให้เกิดปัญหาในเชิง
การปฏิบัติจริง เมื่อก าหนดแผนที่จะให้จัดการเลือกตั้งในปี 2562 พบว่ามีพรรคการเมืองหลายพรรคมี
ความ “ไม่พร้อม” ที่จะปฏิบัติตามหลักกฎหมายดังกล่าว จนท าให้เกิด “ค าสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบ
เรียบร้อยแห่งชาติ ที่ 13/2561” (2561) โดยอาศัยอ านาจตามมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร
ไทย (ฉบับชั่วคราว) 2557 ปลดข้อจ ากัดดังกล่าวให้กับพรรคการเมือง เพื่อให้พรรคการเมืองสามารถเลือก
ผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งโดยไม่ต้องอยู่ในเงื่อนไขของกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ
เมื่อพิจารณาย้อนกลับไปถึงทศวรรษที่ผ่านมา กฎหมายได้วางหลักวิธีการสรรหาผู้ลงสมัครรับเลือกตั้ง
ไว้อย่างซับซ้อนและเข้มข้นไม่แพ้กัน ตั้งแต่ในรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ
ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2550 (ฉบับแก้ไข 2554) จะพบว่าประเทศไทยได้วางรูปแบบการสรรหาไว้
อย่างเป็นขั้นตอนตั้งแต่การสรรหาโดยกรรมการบริหารพรรคการเมือง จนไปถึงการมีส่วนร่วมของสมาชิกพรรค
การเมืองในรูปแบบของคอคัส (caucus) เห็นได้จากงานศึกษาของ สติธรและธนพันธ์ (2560, 18-19) ที่ได้ระบุ
ไว้ว่าภายใต้หลักกฎหมายดังกล่าว ท าให้พรรคการเมืองสามารถด าเนินการสรรหาผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งได้ 2
รูปแบบประกอบด้วย
1.) การคัดเลือกโดยกรรมการบริหารพรรค จากรายชื่อที่เสนอจากคณะกรรมการคัดเลือกผู้สมัคร
รับเลือกตั้ง และที่ประชุมสาขาพรรค
2.) การลงมติเลือกผู้สมควรส่งเข้าสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง
หรือแบบบัญชีราชชื่อโดยที่ประชุมใหม่ของพรรค ด าเนินการประชุมและขอความเห็นจาก
คณะกรรมการสาขาพรรคการเมืองในแต่ละภาค
ถึงกระนั้นแล้ว กลไกการสรรหาผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งกลับยังไม่สามารถปฏิบัติได้จริง และตลอดเวลา
ที่ผ่านมา ไม่ว่าจะภายใต้รัฐธรรมนูญ 2550 หรือ 2560 กลับพบว่าพรรคการเมืองและกรรมการบริหารพรรค
การเมืองในส่วนกลางกลับมีอ านาจอิสระในการเลือกส่งผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งทั้งแบบแบ่งเขตและแบบบัญชี
รายชื่อ ส่งผลให้สาขาพรรคการเมืองในต่างจังหวัดและสมาชิกพรรคการเมืองทั่วไปไม่ได้เข้ามามีส่วนร่วมใน
กระบวนการสรรหาผู้ลงสมัครรับเลือกตั้ง
จากปรากฏการณ์ข้างต้นท าให้เห็นได้ว่าระบบการสรรหาผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นประเด็นส าคัญ
อย่างยิ่งในการท าความเข้าใจประชาธิปไตยในพรรคการเมือง (intra-party democracy) และโดยเฉพาะ
อย่างยิ่งส าหรับประเทศประชาธิปไตยใหม่ การพัฒนาประชาธิปไตยอย่างเป็นสถาบันที่พรรคการเมืองจะต้อง
เข้ามามีบทบาทส าคัญในการขับเคลื่อนประชาธิปไตยให้ยั่งยืน (วีระ 2562, บทที่ 4) จึงมีความจ าเป็นอย่างยิ่ง
ที่จะต้องน าประเด็นเรื่องกระบวนการสรรหาผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งกลับมาศึกษาอีกครั้ง โดยเน้นศึกษาจาก