Page 6 - kpi22237
P. 6
บทที่ 1
บทน า
1.1 ความส าคัญของปัญหา
การวิจัยในเรื่องของวิธีการสรรหาผู้ลงสมัครรับเลือกตั้ง (candidate selection methods) เป็น
การศึกษาที่มีความส าคัญอย่างยิ่งส าหรับการศึกษาในทางสาขาวิชาการเมืองเปรียบเทียบ อันเนื่องมาจาก
กระบวนการและระบบการสรรหาผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งบ่งบอกถึงหลักการของความเป็นประชาธิปไตย
(democratic principles) ในเชิงปฏิบัติการจริงในกระบวนการเลือกตั้ง ที่ส่งผลตั้งแต่ในระดับองค์กรพรรค
การเมือง จนไปถึงการแข่งขันในการเลือกตั้งที่สะท้อนประชาธิปไตยของประเทศ (Rahat 2009) จึงไม่ใช่เรื่อง
แปลกที่ประชาธิปไตยจะไม่สามารถมองได้จากการเลือกตั้งเพียงอย่างเดียว แต่ต้องลงไปพิจารณาถึงช่วงเวลา
“ก่อน” การเลือกตั้งที่เป็นกระบวนการส าคัญในการสรรหาผู้เข้ามาลงแข่งขันเลือกตั้งเช่นเดียวกัน
ทั้งนี้ อันเนื่องมาจากสาระส าคัญของระบบการสรรหาผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งมีผลต่อการท าความเข้าใจ
การเมืองใน 2 ด้าน โดยด้านแรก ระบบการสรรหาผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งจะช่วยให้สามารถอธิบายการเมืองของ
พรรคการเมือง (party politics) ในการพิจารณาว่าภายใต้องค์กรพรรคการเมืองมีโครงสร้างอย่างไร ส่วนใด
เป็นส่วนส าคัญในการใช้อ านาจ ใครเป็นผู้มีอิทธิพลหลัก และสมาชิกพรรคสามารถมีส่วนร่วมได้มากหรือน้อย
เพียงใด และในอีกด้านหนึ่งคือระบบการสรรหาผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งจะท าให้เห็นพฤติกรรมของพรรคการเมือง
และนักการเมือง (behavior of parties and individual politicians) มีจะมีปฏิกิริยาอย่างไรต่อระบบ
การสรรหาผู้เข้ามาแข่งขันรับเลือกตั้ง (Rahat and Hazan 2001, 297) หรือกล่าวให้ง่ายกว่านั้นคือระบบ
การสรรหาผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งจะท าให้เห็นว่าการเมืองในพรรคการเมืองและการเมืองระดับชาติจะเป็นแบบ
“นับรวมคนทุกคน” (inclusiveness) หรือเป็นแบบ “เฉพาะกลุ่ม” (exclusiveness)
เมื่อหันกลับมามองระบบการสรรหาผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งในประเทศ จะพบว่าภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับ
ปี 2560 ได้วางหลักกฎหมายในมาตราที่ 87 (แบ่งเขต) และมาตรา 90 (บัญชีรายชื่อ) ไว้ว่า
“มาตรา 87 ผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง
ต้องเป็นผู้ซึ่งพรรคการเมืองที่ตนเป็นสมาชิกส่งสมัครรับเลือกตั้ง และจะสมัคร
รับเลือกตั้งเกินหนึ่งเขตมิได้
...
มาตรา 90 พรรคการเมืองใดส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งแล้ว ให้มี
สิทธิส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อได้
การส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ ให้พรรคการเมืองจัดท าบัญชีรายชื่อ
พรรคละหนึ่งบัญชี โดยผู้สมัครรับเลือกตั้งของแต่ละพรรคการเมืองต้องไม่ซ้ ากัน
และไม่ซ้ ากับรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้ง แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง โดยส่งบัญชีรายชื่อ