Page 2 - kpi22237
P. 2

ii



                                                        บทคัดย่อ
                       วิธีการสรรหาผู้ลงสมัครรับเลือกตั้ง (candidate selection methods) เป็นการศึกษาที่มีความส าคัญ
               อย่างยิ่งส าหรับการศึกษาในทางสาขาวิชาการเมืองเปรียบเทียบ อันเนื่องมาจากกระบวนการและระบบ

               การสรรหาผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งบ่งบอกถึงหลักการของความเป็นประชาธิปไตย (democratic principles)
               ในเชิงปฏิบัติการจริงในกระบวนการเลือกตั้ง ที่ส่งผลตั้งแต่ในระดับองค์กรพรรคการเมือง จนไปถึงการแข่งขัน

               ในการเลือกตั้งที่สะท้อนประชาธิปไตยของประเทศ ในประเทศไทยนั้น พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่า
               ด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 ได้วางหลักให้รายละเอียดเกี่ยวกับระบบการสรรหาผู้ลงสมัครรับเลือกตั้ง

               ในประเทศอย่างเข้มข้นบนหลักการการสรรหาผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งขั้นต้น หรือไพรมารี (primary vote)
               โดยก าหนดให้พรรคการเมืองต้องด าเนินการจัดการเลือกตั้งขั้นต้น ซึ่งได้มีการก าหนดเงื่อนไขว่าพรรคการเมือง

               ที่ต้องการส่งผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งที่ต้องมีการจัดตั้งสาขาพรรค ตัวแทนพรรคประจ าจังหวัดที่มีพื้นที่รับผิดชอบ
               ในเขตเลือกตั้ง และต้องมีจ านวนสมาชิกพรรคอย่างน้อย 100 คนในเขตเลือกตั้งที่มีการจัดตั้งตัวแทนพรรค
               ประจ าจังหวัด งานวิจัยนี้ต้องการศึกษาว่า 1.) เหตุใดระบบการสรรหาผู้ลงสมัครรับเลือกตั้ง ภายใต้

               พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 จึงไม่สามารถปฏิบัติได้จริง และ
               2.) รูปแบบและกระบวนการสรรหาผู้ลงสมัครรับเลือกตั้ง จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงหรือปรับปรุงในประเด็นใด

               ทั้งในเชิงกฎหมายและการปฏิบัติ เพื่อให้เกิด “ตัวแบบ” ที่เป็นระบบการสรรหาผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งที่เป็น
               ประชาธิปไตยและสามารถปฏิบัติจริงได้ ผลการศึกษาพบว่าเงื่อนไขการด าเนินการสรรหาผู้ลงสมัครรับเลือกตั้ง

               ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 ทั้งการจัดตั้งสาขาพรรค ตัวแทน
               พรรคประจ าจังหวัด และการหาสมาชิกให้เพียงพอตามกฎหมายที่จะด าเนินการจัดการเลือกตั้งขั้นต้นได้เป็น

               เงื่อนไขที่ท าได้ยากในทางปฏิบัติ และไม่ได้ส่งเสริมให้พรรคการเมืองเกิดความเข้มแข็ง และสร้างการมีส่วนร่วม
               ทางการเมืองได้อย่างแท้จริง เป็นแต่เพียงการด าเนินการให้ครบถ้วนตามกฎหมายเพื่อให้พรรคการเมือง
               สามารถส่งผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งได้ และการที่จะสร้างตัวแบบระบบการสรรหาผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งที่เป็น

               ประชาธิปไตยและปฏิบัติได้จริง ต้องเริ่มต้นจากการแก้ไขพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรค
               การเมือง พ.ศ. 2560 โดยอนุญาตให้พรรคสามารถออกแบบกระบวนการสรรหาผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งได้เอง

               งานวิจัยนี้ให้มีการให้ผู้สมัครเข้ารับการสรรหาเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งลงแข่งขันกันเป็นชุดรายชื่อกลุ่มจังหวัด
               มีการน าวิธีการถ่วงน้ าหนัก (weighted system) มาสรรหาผู้ลงสมัครรับเลือกตั้ง โดยให้คะแนนเสียงเลือกผู้ลง

               สมัครแข่งขัน กับคะแนนเสียงจากกรรมการบริหารพรรค มีสัดส่วนอย่างละ 50% เท่าๆ กัน รวมทั้งมี
               การกระจายอ านาจในการสรรหาผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งทั้งในเชิงพื้นที่ผ่านกลุ่มจังหวัด และเชิงสังคมผ่านตัวแทน

               กลุ่มเฉพาะ การเลือกตั้งขั้นต้นไม่จ าเป็นต้องจัดวันเดียวกัน แต่อาจจัดเป็นกลุ่มจังหวัดในช่วงเวลาที่แตกต่าง
               กันได้ และการเลือกตั้งนับเป็น “ไตรมาสเลือกตั้ง” (election quarter) ระยะเวลา 90 วัน โดย 30 วันแรกเป็น
               ช่วงการเลือกตั้งขั้นต้น และอีก 60 วันเป็นช่วงประกาศผู้เป็นตัวแทนพรรคเพื่อแข่งขันในวันเลือกตั้งทั่วไป
   1   2   3   4   5   6   7