Page 14 - kpi22237
P. 14
9
บทที่ 2
ทบทวนวรรณกรรม
2.1 ความน า
ภายใต้ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยตัวแทน (representative democracy) จะพบกับ
ค าถามหลักที่ว่า ระบบและวิธีการสรรหาผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งแบบใดจึงจะสนับสนุนประชาธิปไตยมากที่สุด
ซึ่งการจะตอบค าถามดังกล่าวจ าเป็นต้องเข้าใจกลไกส าคัญของประชาธิปไตยอย่าง “พรรคการเมือง”
(political party) ว่าจะมีการแข่งขันระหว่างพรรคด้วยการคัดสรรผู้สมัคร (intraparty selection) ที่มี
ความส าคัญไม่น้อยไปกว่าการแข่งขันเลือกตั้งระหว่างพรรคการเมือง (interparty election)
อย่างไรก็ดี ภายใต้ระบอบการปกครองและระบบการเมืองที่แตกต่างกันในแต่ละประเทศ ท าให้ไม่มี
วิธีการคัดเลือกผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งที่ดีที่สุดอย่างสมบูรณ์จนเป็นทางเลือกเดียว (one best way) ในทาง
กลับกันแล้วจะพบว่าการมีวิธีส าหรับคัดเลือกผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งที่แตกต่างกันย่อมเปิดช่องให้องค์ความรู้ทาง
รัฐศาสตร์สามารถร่วมออกแบบสถาบัน (institutional design) ว่าจะสร้างระบบและวิธีคัดเลือกผู้ลงสมัคร
อย่างไรจึงจะเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมในบริบทของแต่ละประเทศ โดยไม่ทิ้งเป้าหมายร่วมกันในการไปให้ถึง
ประชาธิปไตย (democratic goals) (Hazan and Rahat 2010) ทั้งในด้านของการน าเสนอบรรทัดฐานของ
ประชาธิปไตย (democratic norms) เช่น การมีส่วนร่วม การแข่งขัน ฯลฯ การสร้างผลผลิตที่เป็น
ประชาธิปไตย (democratic output) เช่น การเป็นตัวแทน การด าเนินการแทนประชาชน ฯลฯ การสร้าง
ประชาธิปไตยที่มีการแบ่งสรรอ านาจทางการเมืองอย่างเสรี (liberal democratic diffusion of political
power) และรักษาสถาบันการเมืองอย่างพรรคการเมืองให้ยั่งยืน
ในบทที่สองนี้จึงได้ด าเนินการทบทวนวรรณกรรมเพื่อท าให้เห็นภาพของระบบและวิธีการสรรหา
ผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งที่เป็นประชาธิปไตยผ่านสามส่วนหลัก โดยส่วนแรกจะกล่าวถึงงานวิจัยและเอกสารที่
เกี่ยวข้องกับระบบการสรรหาผู้ลงสมัครรับเลือกตั้ง ส่วนที่สองจะกล่าวถึงกรอบแนวการศึกษาและความคิด
รวบยอด และส่วนที่สามจะส ารวจระบบการสรรหาผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งเปรียบเทียบจากต่างประเทศ
2.2 งานวิจัยและเอกสารที่เกี่ยวข้องกับระบบการสรรหาผู้ลงสมัครรับเลือกตั้ง
2.2.1 งานศึกษาจากต่างประเทศ
ในงานศึกษาเรื่องระบบการสรรผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นกรณีศึกษาที่เติบโตมาควบคู่กับสาขาวิชา
รัฐศาสตร์ สายการเมืองเปรียบเทียบ (comparative politics) ตั้งแต่ยุคที่ศึกษาความเป็นผู้น าทางการเมือง
(political leadership) จนมาถึงการศึกษาระบบเลือกตั้งและพรรคการเมือง (electoral and party system)
เพื่อตอบค าถามว่าการหาผู้แทนประชาชนจะมีกลไกในการคัดเลือกอย่างไร ให้เกิดความเหมาะสมทั้งในด้าน
ของการแทน (representation) และการเป็นตัวแทน (representativeness)
ในงานของ Epstein (1967, 201) ได้เริ่มนิยามระบบการสรรหาผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งไว้ว่า
กระบวนการสรรหาผู้แทนของพรรคการเมืองเป็น “ภารกิจส่วนบุคคล” (private affair) แม้ว่าจะอยู่ภายใต้
กฎกติกาของรัฐก็ตาม ค ากล่าวลักษณะนี้สะท้อนให้เห็นได้ว่าระบบการสรรหาผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งของพรรค