Page 88 - kpi22228
P. 88

80



               ครั้งใหญเพื่อกูสถานการณ ทามกลางกระแสความไมพอใจรัฐบาลอยางหนักจนมีการชุมนุมขับไลบริเวณ

               ถนนสีลมขึ้นในวันที่ 20 ตุลาคม 2540 ในที่สุด พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธตองตัดสินใจลาออกจากตําแหนง
               นายกรัฐมนตรี (สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ 2551, 254; บัณฑิต จันทรโรจนกิจ 2563, 167)



                       3.1.11 การเมืองภายใตรัฐธรรมนูญฉบับปฏิรูปการเมือง: รัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย พ.ศ.
               2540

                       ในหวงที่ พล.อ. ชวลิตดํารงตําแหนงนายกรัฐมนตรี กระบวนการปฏิรูปการเมืองยังดําเนินการ

               อยางตอเนื่อง โดยในเดือนธันวาคม 2539 มีการเลือกตั้งสมาชิกสภารางรัฐธรรมนูญ 99 คน มาจากตัวแทน
               แตละจังหวัดจํานวน 76 คน และนักวิชาการกับผูเชี่ยวชาญดานกฎหมายอีกจํานวน 23 คน

               เมื่อผานกระบวนการคัดเลือกตัวแทนแลวเสร็จจึงตั้งสภารางรัฐธรรมนูญเมื่อวันที่ 7 มกราคม 2540 โดยมีอุทัย

               พิมพใจชน เปนประธานสภารางรัฐธรรมนูญ และมีอานันท ปนยารชุน เปนประธานคณะกรรมาธิการยกรางฯ
               ตอมาในเดือนสิงหาคม 2540 รางรัฐธรรมนูญฉบับใหมที่เสร็จสมบูรณแลวถูกนําเสนอตอสภาผูแทนราษฎร

               เพื่อผานความเห็นชอบในวาระที่ 3 ตอมาเมื่อผานกระบวนการทั้งหมดแลวจึงลงในราชกิจจานุเบกษาประกาศ

               ใชเปนรัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2540 ซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับป 2540 นี้
               มีสาระสําคัญอยูที่การปฏิรูปการเมืองการปกครองใหมีความเปนประชาธิปไตยมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังไดรับการ

               ยอมรับโดยทั่วกันวาเปนรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน ตัวอยางหลักการสําคัญในรัฐธรรมนูญฉบับ 2540 เชน

               เนนเรื่องสิทธิของประชาชนดานตาง ๆ มากขึ้น มีการตั้งองคกรอิสระหลายหนวยงานเพื่อตรวจสอบการทํางาน
               ของนักการเมือง กําหนดใหมีองคกรกลางอยางคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ขึ้นมาทําหนาที่รับผิดชอบ

               การเลือกตั้งแทนรัฐบาล กําหนดใหวุฒิสมาชิกมาจากการเลือกตั้ง เปนตน (บัณฑิต จันทรโรจนกิจ 2558, 119-

               124 และ บัณฑิต จันทรโรจนกิจ 2563, 162-166)
                       ถึงแมวารัฐธรรมนูญฉบับใหมจะไดรับการสนับสนุนอยางแข็งขันจากจากนักศึกษา ปญญาชน

               คนชั้นกลางในเมือง และกลุมองคกรพัฒนาเอกชน มีการเคลื่อนไหวอยางตอเนื่องตั้งแตการผลักดันประเด็น

               ตาง ๆ เขาสูการพิจารณาของสภารางรัฐธรรมนูญ จนถึงขั้นตอนการพิจารณาของสภาผูแทนราษฎรในวาระ
               สุดทาย โดยการใช “ธงเขียว” เปนสัญลักษณในการเคลื่อนไหว แตในขณะเดียวกันรัฐธรรมนูญฉบับนี้

               ถูกคัดคานจากกลุมฝายขวา เชน กลุมอภิรักษจักรี พรรคประชากรไทยของสมัคร สุนทรเวช มีกํานันผูใหญบาน

               จํานวนหนึ่งออกมาเคลื่อนไหวดวยสัญลักษณ “ธงเหลือง” คัดคานรัฐธรรมนูญในสวนที่ขยายบทบาท
               อํานาจขององคกรปกครองสวนทองถิ่น และหลักการที่วาดวยวุฒิสมาชิกตองมาจากการเลือกตั้ง เปนตน

               (สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ 2551, 253)

                       ภายหลังที่ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ลาออกจากตําแหนงนายกรัฐมนตรี มีการแขงขันระหวางกลุมตาง ๆ
               เพื่อชิงตั้งรัฐบาล ในเบื้องตนพรรครวมรัฐบาลตกลงกันเสนอชื่อ พล.อ. ชาติชาย ชุณหะวัณ หัวหนา

               พรรคชาติพัฒนาใหขึ้นดํารงตําแหนงนายกรัฐมนตรี แตมีการชวงชิงการรัฐรัฐบาลจากขั้วพรรคฝายคาน

               โดย พล.ต. สนั่น ขจรประศาสน เลขาธิการพรรคประชาธิปตยไดชักชวน ส.ส. กลุมปากน้ําจากพรรคประชากร
   83   84   85   86   87   88   89   90   91   92   93