Page 89 - kpi22228
P. 89

81



               ไทยเพื่อตั้งรัฐบาล จํานวน 13 คน ทําใหชวน หลีกภัย หัวหนาพรรคประชาธิปตย ไดรับการเสนอชื่อ

               และดํารงตําแหนงนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2540 โดยแกนนําคนสําคัญของ ส.ส. กลุมงูเหา
               พล.อ.อ .สมบุญ ระหงษ วัฒนา อัศวเหม ประกอบ สังขโต ยิ่งพันธ มนะสิการ ไดเปนรัฐมนตรีในรัฐบาล

               ใหมดวย (สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ 2551, 253-256; ไทยรัฐออนไลน 2562ก)

                       รัฐบาลชวน หลีกภัยถูกวิจารณวาแกไขปญหาเศรษฐกิจลมเหลว ไมกระตือรือรนในการแกไขปญหา
               อีกทั้งบุคคลสําคัญในคณะรัฐมนตรียังประสบปญหาทุจริต จนฝายคานตองยื่นญัตติอภิปรายไมไววางใจรัฐบาล

               ถึง 2 ครั้ง ในเดือนมกราคมและธันวาคมป 2542 นอกจากนี้กระบวนการปฏิรูปการเมืองยังลาชามาก

               โดยเฉพาะเจตนารมณของรัฐธรรมนูญ 2540 ที่ตองการใหมีการยุบสภาเพื่อใหเกิดกระบวนการเลือกตั้งและ
               มีรัฐบาลใหมตามเงื่อนไขรัฐธรรมนูญใหมโดยเร็ว แมวามีการเลือกตั้งวุฒิสมาชิกชุดแรกตามรัฐธรรมนูญ 2540

               ไปแลวเมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2543 และ ส.ส. พรรคความหวังใหมยื่นใบลาออกจากตําแหนงในเดือนมิถุนายน

               2543 เพื่อกดดันนายกรัฐมนตรียุบสภา เนื่องจากจํานวน ส.ส. ในสภาเหลือเพียง 267 คน ในจํานวนนี้มี ส.ส.
               ฝายคานเหลืออยูเพียง 54 คน แตรัฐบาลยังบริหารประเทศตอ จนกระทั่งมีประกาศยุบสภาในวันที่ 9

               พฤศจิกายน 2543 (สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ 2551, 262)


                       3.1.12 การเมืองและการเลือกตั้งภายใตกติกาใหม

                       ในการเลือกตั้งทั่วไปป 2539 เมื่อพรรคพลังธรรมภายใตการนําของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ประสบ

               ความลมเหลว เมื่อ ส.ส. ที่พรรคเคยไดรับจากการเลือกตั้งครั้งกอนหนาจํานวน 23 ที่นั่ง กลับไดเพียง 1 ที่นั่ง
               คือ สุดารัตน เกยุราพันธุ จากเขต 7 กรุงเทพมหานคร ความพายแพครั้งนั้นทําให พ.ต.ท. ทักษิณประกาศ

               ลาออกจากตําแหนงหัวหนาพรรคเพื่อแสดงความรับผิดชอบ หลังจากนั้น พ.ต.ท.ทักษิณดําเนินการกอตั้ง

               พรรคการเมืองใหมในชื่อพรรคไทยรักไทย ดวยการระดมคนจากหลากหลายวงการ เชน คณิต ณ นคร ดํารง
               ตําแหนงรองหัวหนาพรรค ปุระชัย เปยมสมบูรณ เปนเลขาธิการพรรค สมคิด จาตุศรีพิทักษ พล.อ. ธรรมรักษ

               อิศรางกูร ณ อยุธยา ธีรภัทร เสรีรังสรรค สุธรรม แสงประทุม พันธุศักดิ์ วิญญรัตน สุวรรณ วลัยเสถียร เปนตน

               ตอมาพรรคไทยรักไทยมีนักการเมืองหลายคนเขารวม โดยเฉพาะสุดารัตน เกยุราพันธุและอดีตสมาชิกพรรค
               พลังธรรม ซึ่งกอนหนานี้ไดทยอยลาออกจากพรรคพลังธรรมไปจัดตั้งกลุมรวมพลังไทย ก็ไดนํากลุมตนยุบ

               รวมเขากับพรรคไทยรักไทยในภายหลัง (Voice TV 2019)

                       ผลการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 6 มกราคม 2544 พรรคไทยรักไทยไดรับชัยชนะทวมทน มีจํานวน ส.ส.
               246 ที่นั่ง สวนพรรคประชาธิปตยได 128 ที่นั่ง ตามดวยพรรคอื่น ๆ ไดแก พรรคชาติไทย 41 ที่นั่ง พรรค

               ความหวังใหม 36 ที่นั่ง พรรคชาติพัฒนา 29 ที่นั่ง พรรคเสรีธรรม 14 ที่นั่ง พรรคราษฎร 2 ที่นั่ง พรรคถิ่นไทย

               1 ที่นั่ง และพรรคกิจสังคม 1 ที่นั่ง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร หัวหนาพรรคไทยรักไทยไดรับการเสนอชื่อใหดํารง
               ตําแหนงนายกรัฐมนตรีและจัดตั้งรัฐบาลรวมกับพรรคชาติไทย พรรคความหวังใหม และพรรคเสรีธรรม

               บุคคลสําคัญในคณะรัฐมนตรี เชน สุวิทย คุณกิตติ พิทักษ อินทรวิทยนันท และปองพล อดิเรกสาร เปน

               รองนายกรัฐมนตรี พล.อ .ชวลิต ยงใจยุทธ เปนรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีวาการกระทรวงกลาโหม
   84   85   86   87   88   89   90   91   92   93   94