Page 87 - kpi22228
P. 87

79



                       การเลือกตั้งครั้งนี้เปนการแขงขันระหวางหัวหนาพรรค 3 พรรค (3 ช.) ไดแก ชวน หลีกภัย หัวหนา

               พรรคประชาธิปตย พล.อ. ชวลิต ยงใจยุทธ หัวหนาพรรคความหวังใหม และ พล.อ. ชาติชาย ชุณหะวัณ
               หัวหนาพรรคชาติพัฒนา (ไทยรัฐออนไลน 2562ง) ผลการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2539

               พรรคความหวังใหมไดรับเลือก 125 ที่นั่ง พรรคประชาธิปตย 123 ที่นั่ง พรรคชาติพัฒนา 52 ที่นั่ง

               พรรคชาติไทย 39 ที่นั่ง พรรคกิจสังคม 20 ที่นั่ง พรรคประชากรไทย 18 ที่นั่ง พรรคเอกภาพ 8 ที่นั่ง
               พรรคเสรีธรรม 4 ที่นั่ง พรรคมวลชน 2 ที่นั่ง ในขณะที่พรรคพลังธรรมไดเพียง 1 ที่นั่ง คือสุดารัตน เกยุราพันธ

               และพรรคไท 1 ที่นั่ง คือสุชาติ ตันเจริญ

                       พล.อ. ชวลิต ยงใจยุทธ ในฐานะหัวหนาพรรคความหวังใหม จึงไดรับการเสนอชื่อใหดํารงตําแหนง
               นายกรัฐมนตรีโดยควบตําแหนงรัฐมนตรีวาการกระทรวงกลาโหม จัดตั้งรัฐบาลผสม 6 พรรค ประกอบดวย

               พรรคความหวังใหม พรรคชาติพัฒนา พรรคกิจสังคม พรรคประชากรไทย พรรคเสรีธรรม และพรรคมวลชน

                       พล.อ. ชวลิต ยงใจยุทธตองเผชิญปญหาภาพลักษณตกต่ําลงอยางรวดเร็ว สวนหนึ่งเนื่องจากรัฐบาล
               พล.อ.ชวลิตเขามารับชวงตอจากรัฐบาลบรรหารที่เกิดปญหาเศรษฐกิจตกต่ํา รัฐบาลแกไขปญหาเศรษฐกิจที่

               กําลังตกต่ําดวยการประกาศใชนโยบายรัดเข็มขัดทางการคลัง โดยการตัดลดงบประมาณรายจายของรัฐบาล

               ลง และหันไปเพิ่มภาษี นอกจากปญหาเศรฐกิจถดถอยรัฐบาลยังตองเผชิญกับวิกฤตการณทางการเงินอีกดวย
               ซึ่งมีทั้งวิกฤตการณสถาบันการเงิน และวิกฤตการณการเงินระหวางประเทศ จนในที่สุดรัฐมนตรีวาการ

               กระทรวงการคลังตองสั่งปดสถาบันการเงินที่มีภาวะใกลลมละลายถึง 10 แหงลง และประกาศขึ้นภาษีสินคา

               ฟุมเฟอยอีกหลายรายการเพื่อเพิ่มรายไดภาครัฐ ซึ่งพรรคชาติพัฒนาคัดคานการขึ้นภาษีสินคาบางรายการ
               ตอมา พล.อ. ชวลิตทําตามขอเสนอดังกลาว ทําใหอํานวย วีรวรรณลาออกจากตําแหนงรัฐมนตรีวาการ

               กระทรวงการคลังเพื่อแสดงความรับผิดชอบ พล.อ. ชวลิตจึงแตงตั้ง ทนง พิทยะ เปนรัฐมนตรีวาการ

               กระทรวงการคลังแทนเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2540
                       ทามกลางสถานการณเศรษฐกิจของประเทศที่กําลังเขาขั้นวิกฤตหนักเผชิญกับการโจมตีคาเงินบาท

               ทําใหธนาคารแหงประเทศไทยตองนําเงินทุนสํารองระหวางประเทศมาตรึงคาเงินบาท จนเงินทุนสํารอง

               ระหวางประเทศสุทธิลดลงจาก 39,600 ลานดอลลาร เหลือเพียง 2,500 ลานดอลลาร แตรัฐบาลไมสามารถ
               รับมือกับการตรึงคาเงินไวไดอีก จนตองตัดสินใจประกาศลอยตัวคาเงินบาทในวันที่ 2 กรกฎาคม 2540

               สงผลใหคาเงินบาทลดลงจาก 25 บาทตอดอลลาร เปน 30 บาทตอดอลลาร และลดลงอีกอยางตอเนื่อง

               จนกลายเปนจุดเริ่มตนของวิกฤตการณทางการเงินที่ลุกลามไปในวงกวางทั่วเอเชียที่เรียกกันวา “วิกฤตตมยํา
               กุง” (สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ 2551, 251)

                       ภาพลักษณของรัฐบาลตกต่ําลงอยางมากจนตองปรับคณะรัฐมนตรีในวันที่ 15 สิงหาคม 2540

               โดยวีรพงษ รามางกูร ดํารงตําแหนงรองนายกรัฐมนตรี และ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร เปนรองนายกรัฐมนตรี
               เพื่อเสริมสรางภาพลักษณและแกไขปญหาวิกฤตเศรษฐกิจตกต่ํา แตถึงกระนั้นสถานการณกลับไมมีทีทาวาจะ

               ฟนตัวขึ้นแตอยางใด คาเงินบาทลดลงไปถึง 41 บาทตอดอลลาร จนรัฐบาล พล.อ.ชวลิตตองยอมรับมาตรการ

               ทางเศรษฐกิจของกองทุนการเงินระหวางประเทศ (IMF) เพื่อกูเงินมาฟนฟูเศรษฐกิจ รัฐบาลปรับคณะรัฐมนตรี
   82   83   84   85   86   87   88   89   90   91   92