Page 93 - kpi22228
P. 93

85



                       แมวาพรรคไทยรักไทยจะไดรับคะแนนเสียงอยางทวมทนในการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อป 2548 จนสามารถ

               จัดตั้งรัฐบาลพรรคเดียวไดสําเร็จตามที่ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร หัวหนาพรรค เคยประกาศเจตนารมณไวเมื่อ
               วันที่ 27 เมษายน 2546 (เจษฎา ลุประสงค 2553, 61) แตกลับสงผลสะเทือนตอเสถียรภาพของรัฐบาลทักษิณ

               2 อยางมาก ทั้งจากปญหาความแตกแยกภายในพรรคไทยรักไทย เนื่องจากความพยายามในการลดบทบาท

               และอิทธิพลของมุงตาง ๆ ภายในพรรคไทยรักไทยของ พ.ต.ท. ทักษิณ โดยเฉพาะกลุมวังน้ําเย็นของเสนาะ
               เทียนทอง และปญหาในแงความชอบธรรมของรัฐบาล เนื่องจากพรรคไทยรักไทยชนะเลือกตั้งอยางถลมทลาย

               มี ส.ส. ที่ไดรับเลือกตั้งมากกวา 2 ใน 3 ของสภาผูแทนราษฎร จนพรรครวมฝายคาน อันประกอบไปดวย

               พรรคประชาธิปตย พรรคชาติไทย และพรรคมหาชน ไมสามารถถวงดุลการทําหนาที่ของนายกรัฐมนตรี
               ไดเทาที่ควร ทั้งนี้ก็เพราะรัฐธรรมนูญฉบับป 2540 มาตรา 185 กําหนดไววาตองใชเสียง ส.ส. จํานวนไมนอย

               กวา 2 ใน 5 ของจํานวน ส.ส. ทั้งหมดในสภาผูแทนราษฎรถึงจะสามารถเสนอญัตติขอเปดอภิปรายทั่วไป

               เพื่อลงมติไมไววางใจนายกรัฐมนตรีได ซึ่งจํานวน ส.ส. ในซีกฝายคานทั้งหมดรวมกันเพียง 123 เสียง
               ไมถึงเกณฑที่กฎหมายระบุไว

                       กระทั่งเกิดกรณีการจัดซื้อและติดตั้งเครื่องตรวจจับระเบิด (CTX 9000) และการกอสรางสายพาน

               ลําเลียงกระเปาในทาอากาศยานสุวรรณภูมิ โดยในเดือนเมษายน 2548 บริษัทออกแบบและผลิต
               ระบบการตรวจสอบวัตถุระเบิดสัญชาติอเมริกันอยาง “อินวิชัน” (InVision) ถูกเปดโปงวาติดสินบนเจาหนาที่

               รัฐในหลายประเทศและมีความพยายามติดสินบนเจาหนาที่รัฐของไทย แตเรื่องดังกลาวถูกเปดเผยเสียกอน

               ทําให พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และสุริยะ จึงรุงเรืองกิจ รัฐมนตรีวาการกระทรวงคมนาคม
               ถูกวิพากษวิจารณอยางหนักวาปลอยปละละเลยใหมีการจัดซื้อเครื่อง CTX 9000 จํานวน 26 เครื่อง

               อยางไมโปรงใส ทําใหพรรคฝายคานไดยื่นญัตติอภิปรายไมไววางใจสุริยะ จึงรุงเรืองกิจ รัฐมนตรีวาการ

               กระทรวงคมนาคม เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2548 แมวาสภาจะมีมติไววางใจหลังการอภิปรายเสร็จสิ้น
               แตดวยภาพลักษณที่เสียไปจากกรณีดังกลาว สงผลใหสุริยะตองพนจากตําแหนงรัฐมนตรีวาการกระทรวง

               คมนาคมในเวลาตอมา อยางไรก็ดี หลังการไตสวนกรณีดังกลาวเปนระยะเวลากวา 7 ป จากคณะกรรมการ

               ที่เกี่ยวของหลายชุด ในที่สุดคณะกรรมการปองกันและปราบปรามการทุจริตแหงชาติ (ป.ป.ช.) มีมติสั่งไมฟอง
               พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และสุริยะ จึงรุงเรืองกิจ รัฐมนตรีวาการกระทรวงคมนาคม เนื่องจาก

               พยานหลักฐานมีไมเพียงพอ ทําใหขอกลาวหาดังกลาวเปนอันสิ้นสุดลง

                       ทั้งนี้ ควรกลาวดวยวาแมรัฐธรรมนูญฉบับป 2540 มาตรา 185 จะกําหนดใหใชเสียง ส.ส. ไมนอยกวา
               2 ใน 3 ของจํานวน ส.ส. ทั้งหมดของสภาในการยื่นญัตติอภิปรายไมไววางใจนายกรัฐมนตรี แตในมาตรา 186

               ของรัฐธรรมนูญกําหนดให ส.ส. จํานวนไมนอยกวา 1 ใน 5 ของจํานวน ส.ส. ทั้งหมดของสภา สามารถเขาชื่อ

               ยื่นญัตติเปดอภิปรายไมไววางใจรัฐมนตรีเปนรายบุคคลได ดวยเงื่อนไขที่ปรากฏในรัฐธรรมนูญดังที่ไดกลาวมา
               จึงทําใหพรรครวมฝายคาน ซึ่งมี ส.ส. เพียง 123 เสียง สามารถเปดอภิปรายรัฐมนตรีวาการกระทรวงคมนาคมได
   88   89   90   91   92   93   94   95   96   97   98