Page 97 - kpi22228
P. 97

89



               (บัณฑิต จันทรโรจนกิจ 2563, 200) ซึ่งคณะรัฐประหารไดจัดทํา “สมุดปกขาว” เพื่อชี้แจงความชอบธรรมและ

               ความจําเปนของการทํารัฐประหารครั้งนั้นใหกับประชาชนในเวลาตอมา
                       การรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 ดําเนินไปดวยความราบรื่น ไมมีเหตุการณความรุนแรง

               เกิดขึ้นจากฝายตอตานแตอยางใด ประชาชนที่สนับสนุนการรัฐประหารจํานวนหนึ่งออกมามอบดอกไมแสดง

               ความชื่นชมและใหกําลังใจบรรดาเจาหนาที่ทหารที่กําลังปฏิบัติหนาที่ตรึงกําลังตามจุดตาง ๆ
               ในกรุงเทพมหานคร นอกจากนี้ยังมีสื่อมวลชน นักวิชาการ ปญญาชน และนักธุรกิจ ออกมาแสดงจุดยืน

               สนับสนุนการทํารัฐประหารในครั้งนี้ดวยเชนกัน

                       ในขณะที่ปฏิกิริยาของประชาชนหลายฝายที่ไมเห็นดวยกับการทํารัฐประหารไดมีความพยายาม
               ในการเคลื่อนไหวตอตานอยูบาง ในเวลาตอมาไดขยายตัวเปนเครือขาย 19 กันยาฯ ตานรัฐประหาร ซึ่งเปนการ

               รวมตัวกันของนักศึกษาและนักกิจกรรมกลุมเล็ก ๆ ดําเนินกิจกรรมรณรงคเรียกรองใหประชาชนออกมา

               เคลื่อนไหวตอตานการทํารัฐประหารในทันที โดยประกาศผานแถลงการณในวันที่ 20 กันยายน 2549 วา
               การรัฐประหารโดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริยทรงเปนประมุข

               ถือเปนการลมลางการปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา (อุเชนทร เชียงเสน 2564) นอกจากนี้ยังมี

               กรณีลุงนวมทอง (นายนวมทอง ไพรวัลย) คนขับรถแท็กซี่พุงชนรถถังของคณะรัฐประหารที่จอดรักษาการอยู
               บริเวณลานพระบรมรูปทรงมาเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2549 เพื่อประทวงการทํารัฐประหาร แตไดรับบาดเจ็บ

               สาหัส ตอมา นายนวมทองแขวนคอตายที่ราวสะพานลอยหนาสํานักงานหนังสือพิมพไทยรัฐ พรอมกับจดหมาย

               ลาตายที่แสดงจุดยืนประทวงการรัฐประหาร
                       กระนั้น การเคลื่อนไหวตอตานรัฐประหารของเครือขายตาง ๆ ยังคงดําเนินกิจกรรมเรื่อยมา อาทิ

               การเดินขบวนของ “เครือขาย 19 กันยา” ไปยังบานสี่เสาเทเวศรของ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท เมื่อวันที่ 18

               มีนาคม 2550 โดยมีประชาชนเขารวมประมาณ 2,000 คน นอกจากนี้ยังมีการกอตัวขึ้นของกลุมตาง ๆ เชน
               กลุมแนวรวมประชาชนตานรัฐประหาร (นปตร.) นําโดย นพ.เหวง โตจิราการ กลุมพีทีวี (สถานีโทรทัศน PTV)

               นําโดยวีระ มุสิกพงศ จักรภพ เพ็ญแข จตุพร พรหมพันธุ ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ และกอแกว พิกุลทอง ซึ่งภายหลัง

               กลุม นปตร. กับพีทีวียุบรวมกันจัดตั้งเปนองคกรใหมในชื่อ แนวรวมประชาธิปไตยขับไลเผด็จการ (นปก.)
               ซึ่งภายหลังไดเปลี่ยนชื่อเปน “แนวรวมประชาธิปไตยตอตานเผด็จการแหงชาติ (นปช.)” และเปนที่รับรู

               โดยทั่วไปในฐานะองคกรหลักของกลุมคนเสื้อแดง

                       คณะรัฐประหารไดยกเลิกรัฐธรรมนูญป 2540 วุฒิสมาชิก สมาชิกสภาผูแทนราษฎร และ
               ศาลรัฐธรรมนูญ จากนั้นมีการแตงตั้งคณะกรรมการตรวจสอบทรัพยสินคณะรัฐมนตรีรัฐบาล พ.ต.ท. ทักษิณ

               ชินวัตร ตอมามีประกาศใชรัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทยฉบับชั่วคราว พ.ศ.2549 โดยมีสาระสําคัญคือ

               กําหนดใหมีสภานิติบัญญัติแหงชาติขึ้นทําหนาที่แทนรัฐสภา และกําหนดใหมีสภารางรัฐธรรมนูญเพื่อทําหนาที่
               รางรัฐธรรมนูญฉบับใหม สวนคณะรัฐประหารไดแปรสภาพเปนคณะมนตรีรักษาความมั่นคงแหงชาติ (คมช.)

               เพื่อรับผิดชอบดานความมั่นคงทั้งหมด นอกจากนี้ไดแตงตั้ง พล.อ. สุรยุทธ จุลานนท องคมนตรีใหดํารง
   92   93   94   95   96   97   98   99   100   101   102